Sunday, January 24, 2010
รถเมล์ ไทเป
รถเมล์ไต้หวันนั้นก็คล้ายๆ กับรถเมล์บ้านเรา ราคาค่าตั่วก็ขึ้นอยู่กับระยะทาง เริ่มตั้งแต่ ๑๕ ดอลลาร์ไปจนถึง ๒๕ ดอลลาร์ (ไต้หวัน) เขาไม่ได้ขึ้นราคารถเมล์มาห้าปีแล้ว ว่ากันว่าส่วนปกครองท้องถิ่นไทเป (Taipei City and County governments) อุดหนุนงบประมาณเพื่อช่วยเหลือประชาชนอยู่บางส่วน เช่น ราคาตั่ว ๑๕ ดอลลาร์ รัฐอุดหนุนอยู่๐.๘๘๑ ดอลลาร์ หากรถเมล์ขอขึ้นราคา นั่นหมายถึงรัฐต้องเพิ่มการอุดหนุนมากขึ้น จึงไม่ใช้เรื่องทำได้ตามใจนักการเมือง
ส่วนด้านการบริการนั้นแน่นอนเขาดีกว่าเราในแง่ของคน ไม่มีกระเป๋ารถเมล์ให้เกะกะ แต่ทุกคนใช้บัตรสแกนหรือใช้เหรียญหยอดลงไปในตู้ที่ติดตั้งไว้ข้างๆ คนขับ
ในแง่ของเวลาที่รถวิ่ง ของบ้านเราผู้โดยสารยืนคอยขึ้นไม่รู้ว่ารถจะมาเมื่อไร แต่เวลาของเขาแน่นอน คล้ายๆ กับออสเตรเลีย วันหนึ่งผมยืนคอยรถเมล์สาย 47 หน้ามาบุญครอง ครึ่งชั่วโมง รถยังไม่มาเลย
ที่ไทเปบางครั้งรถติดเยอะก็ช้าเหมือนกัน แต่ไม่ช้ามากเหมือนของเรา เห็นสภาพรถเมล์บ้านเราแล้วสมเพสมากกว่า กี่ปีๆ ก็ไม่มีการพัฒนา สกปรกถาวร
ภาพจาก The China Post
Thursday, October 22, 2009
Train Disable-Friendly Seats
ที่นั่งของคนพิการจัดไว้อย่างสะดวกและปลอดภัยสำหรับผู้โดยสารพิการของ Taiwan HighSpeedRail Train ไม่ต้องนั่งเก้าอี้แข็งโป้กแบบใครที่เป็นฝีที่ก้นแล้วต้องแสยง
ภาพจาก WIKIMEDIA COMMONS
Taiwan HighSpeedRail Train Disable-Friendly Lavatory
ห้องน้ำสำหรับผู้โดยสารพิการ ไม่ต้องบรรยายนะครับว่าแตกต่างจากส้วมของรถไฟไทยแค่ไหน
ภาพจาก WIKIMEDIA COMMONS
Taiwan High Speed Rail (2)
ค่าโดยสารรถไฟความเร็วสูงขบวนนี้ขึ้นอยู่กับระยะทาง ชั้น สถานะและวัยของผู้โดยสาร เช่น หากผู้ใหญ่จะเดินทางจากไทเป Taipei Main Station ไปสุดทางที่สถานี Zuoying Station ชั้นธรรมดาหรือชั้นมาตรฐานก็จะตกอยู่ที่ ๑,๒๖๕ ดอลลาร์ไต้หวัน (ประมาณ ๑,๓๑๕ บาท) ส่วนชั้นธุรกิจก็จะแพงขึ้นไปอีกราคาหนึ่ง (๑,๙๕๐ ดอลลาร์) เด็ก ผู้สูงอายุและ คนพิการ จะตกอยู่ที่ ๗๔๕ ดอลลาร์เท่านั้น ใช้เวลาเดินทางประมาณ ๒ ชั่วโมง
ข้อมูลจาก THSR
ภาพจาก WIKIPEDIA
Taiwan High Speed Rail
รถไฟความเร็วสูงขบวนแรกของไค้หวัน Taiwan High Speed Rail หรือ THSR วิ่งระหว่างไทเปเมืองหลวงของประเทศซึ่งอยู่ทางเหนือของเกาะไปยังเมืองเกาสงที่อยู่ทางใต้ของประเทศ เป็นระยะทาง ๓๓๕.๕๐ กิโลเมตร
รถไฟความเร็วสูงขบวนนี้เริ่มเปิดดำเนินการมาเมื่อวันที่ ๕ มกราคม ๒๕๕๐ นี่เอง
ขบวนรถไฟวิ่งเลียบฝั่งตะวันตกของเกาะผ่านสถานีต่างๆ ประมาณ ๗ สถานี ไม่นับสถานีแรก คือ Taipei Main Station บางสถานีก็อยู่ข้างบนดินหรือบนทางยกระดับ บางสถานีก็วิ่งมุดอยู่ใต้ดิน วิ่งไปสุดทางที่สถานี Zuoying Station ที่เมืองเกาสง
ภาพจาก WIKIPEDIA
Wednesday, October 21, 2009
รถสาธารณะกับคนพิการ
ดูรายการโทรทัศน์ทางช่องทีวีไทยพูดถึงเรื่องคนพิการกับการใช้บริการขนส่งสาธารณะในบ้านเราแล้วรู้สึกสงสารคนพิการบ้านเรา เพราะขาดการดูแลอย่างจริงจังจากรัฐบาล
คนพิการในไต้หวันนั้นดีกว่าเรามากเพราะจะขึ้นรถยนต์ รถไฟ เขามีเครื่องอำนวยความสะดวกไว้บริการมาก รถไฟที่ไทเปจัดการได้ดี ทุกสถานีและรถไฟทุกขบวนจะมีเครื่องอำนวยความสะดวกคนพิการไว้บริการ เช่น
• ห้องพักคนพิการ
• ทางขึ้นสำหรับเก้าอี้คนพิการและรถเข็นเด็ก
• ราวยึดเกาะตอนขึ้นบันได
• ลิฟท์ สำหรับขึ้นลง
• เครื่องขายตั๋วสำหรับคนพิการ ทางเข็นรถคนพิการที่ทำเป็นพิเศษ
• ตู้โทรศัพท์สูงพอเหมาะกับคนพิการ
• ระบบจอข้อมูลสำหรับและสัญญาณไฟสำหรับผู้ที่ปัญหาการได้ยิน
• รถไฟในไทเปแทบทุกขบวนมีพื้นที่พิเศษสำหรับรถคนพิการ
ส่วนคนพิการในบ้านเราตงต้องรอไปก่อน คุณภาพนักการเมืองบ้านเรานั้นยังไปไม่ถึงขนาดที่จะเห็นประโยชน์ของคนในประเทศหรอกครับ
ภาพจาก Taiwan Yearbook 2007
Sunday, October 11, 2009
Taiwan Tourism Industry
การท่องเที่ยวไต้หวัน
คนไทยและอีกหลายประเทศรู้จักไต้หวันว่าเป็นประเทศที่ผลิตอุปกรณ์ไฟฟ้าหรือคอมพิวเตอร์ส่งออกไปขายยังต่างประเทศ
แต่อันที่จริงไต้หวันมีรายได้จากการท่องเที่ยวไม่เบาเหมือนกัน เพราะการท่องเที่ยวของไต้หวันเติบโตอย่างรวดเร็วหากเทียบเทียบกับประเทศใกล้เคียงหรือบ้านเรา
จากการสำรวจของ World Economic Forum เมื่อไม่นานมานี้พบว่าการท่องเที่ยวของไต้หวันพุ่งขึ้นมาเป็นอันดับสี่ของเอเชียทีเดียวและเป็นอันดับ ๑๓ ของโลก
จากรายงานของ The Council for Economic Planning and Development (CEPD) บอกว่านี่แสดงให้เห็นว่าไต้หวันนั้นมีศักยภาพในการพัฒนาการและจัดการการท่องเที่ยวได้ดีเยี่ยม
จากสถิติเมื่อปีพ.ศ.๒๕๔๙ พบว่ามีนักเท่องเที่ยวหลั่งไหลมาเที่ยวไต้หวันถึง ๓ ล้าน ๕ แสน ๒ หมื่นคนและรายได้จากการท่องเที่ยวของไต้หวันเมื่อปีก่อนนั้นสูงถึงร้อยละ ๔.๕๒ ของรายได้ประชาชาติ ว่ากันว่าการที่รัฐบาลออกมาสนับสนุนการท่องเที่ยวในต่างประเทศนั้นได้ผลมาก
เห็นการเอาจริงเอาจังในการสนับสนุนการท่องเที่ยวในบ้านเขาแล้ว หันมาดูบ้านเรา ค่อยเป็นค่อยไปเหมือนเต่า มีแต่ราคาคุยมากกว่าของจริง ก็ขอเอาใจช่วยแล้วกัน
ข้อมูลจาก Taiwan Tourism Industry
ภาพจาก Taiwan.net
Tuesday, October 6, 2009
Taiwan railway chief resigns because of train accident
Taiwan railway chief resigns because of train accident
(เอาหัวข่าวของประเทศไต้หวันมาให้อ่านกันนะครับ ไม่ใช่ของบ้านเรา)
ได้ดูข่าวรถไฟตกรางที่หัวหินประกอบคำแก้ตัวของเจ้าหน้าที่ของการรถไฟแล้วก็งงๆ และหงุดหงิดเนื่องจากไม่มีเจ้าหน้าที่ผู้ใหญ่(หน้าไหน)สักคนออกมารับผิด กลับโยนความผิดไปให้พลขับของการรถไฟไปโน่น
ที่ไต้หวันก็เคยมีอุบัติเหตุรถทางรถไฟเหมือนๆ กับเราหรือประเทศอื่นๆ ที่มีรถไฟวิ่งรับส่งผู้โดยสาร
แต่ที่ไม่เหมือนบ้านเราก็คือ การออกมารับผิดชอบต่อการสูญเสีย อย่างเช่นกรณีที่เจ้าหน้าซ่อมบำรุงห้าคนเสียชีวิตจากการถูกรถด่วนชนที่หัวหลิน(Hualien)ของไต้หวัน เมื่อเดือนมีนาคม พ.ศ. ๒๕๔๙ จนทำให้นายซู ต้า-เหวิน (Hsu Da-wen) กรรมการผู้จัดการใหญ่ของการรถไฟไต้หวัน (Taiwan Railway Administration) ในขณะนั้นลาออกจากตำแหน่งเพื่อแสดงความรับผิดชอบต่อการสูญเสียของเจ้าหน้าที่ทั้งห้าคนนั้น
ส่วนผู้บริหารของการรถไฟไทยลาออกนั้นยังไม่เคยได้ยิน
ภาพจาก ผู้จัดการ ออนไลน์
ที่มา Red Orbit
Source: Xinhua News Agency - CEIS
Monday, September 7, 2009
ระบบการศึกษาของไต้หวัน
มีผู้สนใจสอบถามเรื่องระบบการศึกษาของไต้หวันมา ก็เลยถือโอกาสตอบคั่นเสียตอนนี้เลยนะครับ
ระบบการศึกษาของไต้หวันก็คล้ายๆ กับประเทศอื่นๆ อีกหลายประเทศเริ่มตั้งแต่ระดับก่อนวัยเรียน ๒ ปี การศึกษาภาคบังคับอีก ๙ ปี แบ่งเป็น ประถมศึกษา ๖ ปี ป. ๑ ถึง ป.๖ มัธยมต้นหรือที่เรียกว่า junior high school อีกสามปี
หลังจากจบมัธยมต้นภาคบังคับก็อาจสอบเข้าเรียนต่อในระดับการศึกษาที่สูงขึ้นไป เช่น มัธยมปลายที่เรียกกันว่า senior high school อีกสามปีหรือจะไปเรียนอาชีวะ ก็เรียนต่ออีกสามปีหรือจะไปเรียนต่อในระดับ junior college ก็ต้องเรียนอีก ๕ปี
หากจะไปเรียนระดับมหาวิทยาลัย ก็ต้องสอบเข้าเหมือนๆ กับอีกหลายประเทศที่เรียกว่า Joint College Entrance Examination หรือสอบ national exams อื่นๆ
ก็อย่างว่า การสอบแข่งขันด้วยจำนวนนักเรียนที่มากขนาดนั้นก็ต้องมีการแข่งขันสูงเป็นธรรมดา เมื่อสอบเรียนในระดับมหาวิทยาลัยแล้วก็อาจสอบเรียนต่อในระดับบัณฑิตศึกษาต่อไปได้
ภาพจาก uwsem.org
Wednesday, August 26, 2009
ไต้หวันสั่งห้ามใช้ถุงพลาสติกเพื่อลดปริมาณขยะ
Taiwan Bans Plastics to Reduce Waste
ในบ้านเราหรือแม้แต่ประเทศอื่นๆ อีกหลายประเทศนั้นขยะถุงพลาสติกเป็นปัญหากับการจัดการเรื่องการกำจัดขยะมากโขอยู่
ไต้หวันเองก็เคยประสบปัญหาเรื่องถุงขยะพลาสติกเหมือนกับประเทศอื่นๆ มาก่อน แต่ตอนนี้ไต้หวันใช้นโยบายและเทคนิคของไต้หวันเองในการรณรงค์ให้ปลอดถุงพลาสติก
หากใครที่ไปเที่ยวไต้หวัน และซื้อของตามซุปเปอร์มาร์เก็ต ทางร้านเขาจะไม่ให้ถุงพลาสติกมาเหมือนบ้านเรา หากเราซื้อของเยอะ เราก็ต้องเอาถุงหรือกระเป๋าไปเอง และหากเราไม่มีถุง แล้วอยากได้ถุงใส่ของที่ซื้อ เราต้องเสียเงิน ๑ ดอลลาร์(ไต้หวัน)เพื่อเป็นค่าธรรมเนียม เจตนาก็เพื่อไม่ให้เราใช้ถุงพลาสติกนั่นเอง
ไต้หวันเป็นเกาะเล็กๆ แต่มีพลเมืองหนาแน่น เนื่องจากมีพลเมืองประมาณ ๒๓ ล้านคนใช้ถุงพลาสติกประมาณ ปีละ สองหมื่นล้านใบ นั่นหมายถึคนไต้หวันใช้ถุงพลาสติกกันคนละ๒.๕ ใบต่อคน
ว่ากันว่าคนไต้หวันกว่า ๑๖ ล้านกินข้าวนอกบ้านอย่างน้อยหนึ่งมื้อโดยซื้อจากร้านสะดวกซื้อบ้าง ตามสถานีรถไฟบ้าง ตามแผงขายอาหารข้างทางบ้าง ร้านก็ใส่ถุงพลาสติกมาให้ ลองคิดดูว่าถึงพลาสติกจะมากขนาดไหน
ไต้หวันจึงออกกฎหมายไม่ให้ทางร้านให้ถุงพลาสติกกับลูกค้าฟรีๆ ไม่ว่าจะป็นร้านอาหารหรือร้านสะดวกซื้อห้ามหมดโดยรัฐบาลตั้งเป้าไว้ว่าจะสามารถลดขยะถุงพลาสติกได้ถึงร้อยละ ๓๐
ก็อย่างว่า อุตสาหกรรมพลาสติกก็ออกมาโวยวายกันใหญ่ว่า อย่างนี้อั้วก็ซี้น่ะสิ เพราะทำให้กิจการทั้งหลายแหล่เกี่ยวพลาสติกต้องพากันเจ้งไปหมด
แน่นอนทำอะไรใหม่ๆ ก็ต้องมีผลกระทบ แต่หากมัวนึกถึงแต่นายทุน ไม่นึกถึงส่วนรวม ประเทศก็ไปไม่ได้ ไม่เหมือนของเรา นึกถึงพรรคพวกตัวเองก่อนส่วนรวม
การที่ไต้หวันออกกฎหมายใหม่นี้ทำให้อุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับพลาสติก ๗๕,๐๐๐ ประเภทต้องปฏิบัติตามกฏหมายใหม่นี้ แต่หากบริษัทที่ว่าเหล่านี้ละเมิดกฎหมายจะถูกปรับประมาณ ๑,๗๐๐ ถึง ๘,๕๐๐ ดอลลาร์สหรัฐทีเดียว
ในช่วงแรกๆของกฎหมายบังคับใช้บริษัทพลาสติก ๓ บริษัทและตัวแทนจำหน่าย ๑๐ แห่งต้องปิดตัวเองลงไป รวมๆ แล้วบริษัทเหล่านี้ต้องลดการผลิตลงกว่าครึ่ง ปลดคนงานไปกว่า ๕๐,๐๐๐ อัตรา รัฐบาลก็เข้าไปช่วยคนงานที่ถูกลอยแพและช่วยบริษัทเหล่านั้นปรับกลยุทธในการดำเนินธุรกิจต่อไปได้
แต่สิ่งที่ผมชอบก็คือรัฐบาลปฏิเสธคำร้องของสมาคมผู้ผลิตพลาสติกที่ให้ชะลอการบังคับใช้กฎหมายออกไปอีก ๕ ปี และรัฐบาลยังปฏิเสธคำแนะนำให้ใช้โครงการนำกลับมาใช้ใหม่ (recycling program) แทนโดยบอกว่าโครงการที่ว่านั้นล้มเหลวไปแล้วในอดีต
เห็นรัฐบาลของเขาแล้วชื่นใจแทน หากทำในประเทศเราบ้างก็ดีน่ะสิ แต่คงยาก ก็อย่างที่เรารู้ๆ กันอยู่
ภาพจาก Fade to Green
ระบบการเก็บขยะในไทเป
ได้ดูรายการ “ไทยมุง” ในโทรทัศน์ ThaiPBS (ไม่ทราบว่าทำไมสถานีโทรทัศน์แห่งนี้ จึงเรียกชื่อเป็นฝรั่ง ทั้งๆ ที่เป็นของคนไทย) ซึ่งเขาเชิญพนักงานกวาดถนนสองคนมาสัมภาษณ์ ได้ฟังชีวิตการทำงานของทั้งสองแล้ว เห็นใจมากเพราะคนเดินถนนบ้านเราทิ้งขยะไม่เลือกที่ ไม่ใช่แค่เป็นภาระของคนกวาดถนนเท่านั้น แต่เป็นภาระของเมือง ของประเทศด้วย
ทำให้คิดถึงระบบการเก็บขยะของเมืองใหญ่อย่างไทเป ของไต้หวันขึ้นมา
ระบบการเก็บขยะของไทเปนั้น ตอนนี้แตกต่างจากเมืองอื่นๆอย่างเห็นได้ชัด
เมื่อหลายปีก่อนนั้นไทเปก็เหมือนกับประเทศอื่นๆ คือคนทิ้งขยะในถังที่วางอยู่ข้างถนน แล้วมีรถขยะมาเก็บไปกำจัด แต่เนื่องจากเกาะแห่งนี้เป็นเกาะเล็กๆ มีพลเมืองหนาแน่น จุดทิ้งขยะบางจุดมีขยะมาก สกปรก ส่งกลิ่นเหม็น ทำให้หนูออกมารื้อค้นขยะ แมลงวันบินมาตอมหึ่ง ไม่น่าดู ทั้งๆ ที่บ้านเมืองดูทันสมัย
รัฐบาลกลางจึงตัดสินในเปลี่ยนระบบการเก็บขยะเสียใหม่และขอให้ประชาชนนำขยะจากครัวเรือนและขยะส่วนตัวของตนออกมาทิ้งที่รถขยะตอนค่ำๆ และเพื่อให้คนรู้ว่ารถขยะมาแล้ว เขาก็ติดตั้งสัญญาณที่เป็นเสียงเพลง(ที่ผมเคยได้ยิน มีสองเพลง คือเพลง “A Maiden's Prayer” ของ Tekla Badarzewska-Baranowska ส่วนอีกเพลงเรียกชื่อไม่ถูกเหมือนกัน) เรียกคนเอาขยะมาทิ้ง รถขยะที่นั่นสีเหลืองครับ รถขยะจะจอดอยู่ตามหัวถนน หรือทางแยกเพื่อให้คนมาทิ้งขยะได้สะดวก
เราจะเอาขยะอะไรไปทิ้งส่งเดชไม่ได้นะครับ ต้องทิ้งตามปฏิทินที่ทางการการแจกมา เช่น วันจันทร์ เขาจะรับขยะเฉพาะขยะเป็นพิษ วันอังคารจะรับขยะที่เป็นแก้วหรือขวด วันพฤหัสจะรับขยะที่เป็นพลาสติก ในศุกร์จะรับขยะทั่วไป อะไรเทือกนั้น
ตอนที่ผมไปอยู่ที่นั่น เพื่อนเราเอาปฏิทินที่เขาทำแจกเป็นรูปการ์ตูนแต่ละวันแปะไว้ที่ข้างประตูเพื่อให้เรารู้ว่าวันนี้เราจะเอาอะไรไปทิ้งในคืนนั้น เพื่อนบอกว่าบางวันเขากลับดึก ให้เราช่วยเอาขยะไปทิ้งให้ด้วย ผม ผมก็ช่วยทำให้เพราะรถขยะไม่ได้มาทุกวันนะครับ
ถามว่าเราจะเอาขยะไปทิ้งตามถังขยะข้างถนนได้หรือไม่ คำตอบก็คือ ไม่ได้ เพราะไม่มีถังขยะตามถนนแล้ว เราต้องเก็บไว้คอยรถขยะอย่างที่บอกไว้ตั้งแต่ต้น เขาเลิกวางถึงขยะไปแล้ว ที่น่าสังเกตก็คือ ไม่ค่อยมีขยะทิ้งเรี่ยราดตามท้องถนนเท่าไรนัก เพราะคนของเขาเริ่มรู้หน้าที่ต่อตนเองและส่วนรวมมากขึ้น (ไม่แน่ใจว่ามากกว่าคนไทยเราหรือเปล่า)
หันมาดูในบ้านเรา การเก็บขยะก็ยังทำแบบเดิมๆ บ่องครั้งที่คนกวาดถนนตกอยูในภาวะเสี่ยงกับอัตรายจากยวดยานพาหนะ จากพิษของขยะเอง จากฝุ่นควันที่ลอยคละคลุ่งท่ามกลางแดดร้อนแทบละลาย
หากเรายังไม่มีระบบการจัดเก็บที่ได้ผล ก็ลองเอาของไต้หวันหรือออสเตรเลียมาประยุกต์ใช้ก็ได้ครับ
ภาพจาก culture.tw
Monday, August 24, 2009
คนตกงานในไต้หวัน
บ้านเราเริ่มมีคนบ่นเรื่องการว่างมากขึ้นด้วยเหตุพิษเศรษฐกิจที่กระหน่ำไปทั่วโลก ก็กระทบไปทุกประเทศไม่เว้นแม้แต่ไต้หวัน
หนังสือพิมพ์ China Post ของไต้หวัน ฉบับวันที่ ๒๕ สิงหาคม ๒๕๕๒ รายงานว่าอัตราการว่างในประเทศนี้ก็ไม่น้อยหน้า ทำสถิติพุ่งขึ้นไปถึงร้อยละ ๖.๐๗ เมื่อเดือนกรกฎาคม คิดเป็นจำนวนคนว่างงานประมาณ๖๖๓,๐๐๐ คน ก็ไม่เบานะสำหรับประเทศที่ไม่ใช่ประเทศยากจนอีกแล้ว
ว่ากันว่าสถิติในครั้งนี้นับเป็นครั้งแรกที่อัตราการว่างงานเพิ่มขึ้นไปถึงร้อยละ ๖ เริ่มตั้งแต่รัฐบาลเริ่มเริ่มรวบรวมสถิติคนว่างงานไว้ตั้งแต่ปีพ.ศ. ๒๕๒๑
ฝ่ายทางการก็ออกมาแถลงแจงให้ฟังว่าสติถิการว่างงานล่าสุดนี้ส่วนหนึ่งอาจมีสาเหตุมาจาการที่บัณฑิตจบใหม่เริ่มเข้าสู่ตลาดแรงงานในภาคฤดูร้อนนี้ก็ได้
ก็ต้องยอมรับว่าประเทศไหนๆ ก็ประสบภาวะนี้กันทั่วหน้า อย่าไปคิดอะไรมากครับ ประหยัดๆ หน่อยก็พออยู่ไปก่อน
ภาพจาก Topnews.In
Wednesday, August 19, 2009
ทหารหญิงไต้หวัน
เห็นภาพทหารหญิงไต้หวันที่ออกช่วยชาวบ้านที่ประสบเคราะห์จากไต้ฝุ่นมรกตแล้วชื่นชมพวกเธอเหล่านั้นมาก เสียสละช่วยเพือนมนุษย์ เราไม่ค่อยพบการเสียสละลักษณะนี้ในหมู่วัยรุ่นหญิงของไทย คงมัวไปกรี้ดๆ กันหน้าเวทีคอนเสิร์ตวงดนตรีเกาหลีจนลืมคุณค่าและศักยภาพที่แท้จริงความเป็นหญิงไทยของตน
ปัจจุบันมีทหารหญิงไต้หวันประจำกองทัพอยู่ประมาณ ๘,๒๐๐ คน (สถิติเมื่อสามปีก่อน) ทหารทั้งหมดทั้งที่ประจำการตามฐานทัพและไม่ได้ประจำการเหล่านั้นล้วนจบมาจากสถาบันทหารของประเทศทั้งสิ้น
อย่างไรก็ตาม จากการออกกฎหมายทหาร (Military Service Law ) เมื่อสี่ปีก่อนที่อนุญาตให้สตรีที่อยากจะเข้าร่วมในกองทัพสามารถสมัครได้โดยไม่ต้องจบสถาบันทหารก่อน อาจทำให้จำนวนทหารหญิงในกองทัพจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
ข้อมุลประกอบจาก Taipei Times
ภาพจาก Photographers Direct
Tuesday, August 18, 2009
นักการเมืองกับปาก
ลองมาดูข่าวความหายนะครั้งใหญ่ของไต้หวันกับความรับผิดชอบของนักการเมืองที่เข้ามาบริหารประเทศดุบ้างครับ อาจได้ข้อคิดอะไรดีๆบ้าง นอกจากเรียนภาษาอังกฤษจากข่าวที่เกิดขึ้น
Taiwanese President Ma Ying-jeou sharply raise the expected death toll from Typhoon Morakot on Friday to more than 500, amid mounting criticism of his handling of the worst storm to strike the island in over 50 years.
ข่าวนำของข่าวนี้บอกว่า
ประธานาธิบดี มา ยิงเจียวของไต้หวันยอมรับว่าจำนวนผู้เสียชีวิตจากพายุไต้ฝุ่นมรกตเมื่อวันศุกร์นั้นอาจสูงกว่า ๕๐๐ ศพ ท่ามกลางการวิพากวิจารณ์ว่ามาตรการการช่วยเหลือของเขานั้นยังไม่เร็วพอที่จะรับมือกับพายุใหญ่ในรอบ ๕๐ ปีที่กระหน่ำเกาะไต้หวัน
เรื่องของเรื่องก็มีอยู่ว่าประธานาธิบดีของไต้หวันคนนี้ดันไปพูดกับสื่อโทรทัศน์อิสระของอังกฤษ (ITN) ก่อนหน้านั้นว่า
"They were not fully prepared. If they were, they should have been evacuated much earlier," Ma told an ITN reporter. "They didn't realize how serious the disaster was."
พูดทำนองว่า
“ประชาชนไม่ได้เตรียมรับสถาการณ์ให้ดีพอ พวกเขาควรจะอพยพออกไปให้เร็วกว่านี้ ประชาชนไม่รู้ว่าความเสียหายนั้นร้ายแรงขนาดไหน”
ว่าไปนั่น
ขอแสดงความเสียใจกับผู้ประสบเคราะห์เหล่านั้นด้วยครับ
แหล่งที่มา China Post
ภาพจาก Telegraph.co.uk
Tuesday, July 21, 2009
Taipei 101 ตึกสูงที่สุดในโลก
ตึกไทเป 101 (Taipei 101) ตั้งอยู่ในเขตสินยี่ของไทเป เป็นอาคารสูงที่สุดของไต้หวันและเคยครองสถิติตึกที่สูงที่สุดในโลกอยู่หลายปี (จนกระทั่งถึงเมื่อไม่นานมานี้ อาคารเบิร์จดูไบของ UAE ก็ทำสถิติแซงขึ้นไปหน่อยเพราะพี่แกทำไว้ถึง 141 ชั้นแต่สถิติความสูงยังเป็นของอาคาร Taipei 101แห่งนี้อยู่)
ตึกไทเป 101 ในเบื้องต้นนั้นเป็นโครงการก่อสร้างที่เกิดจากความร่วมมือ ระหว่าง KTRT Joint Venture กับ Samsung Engineering & Construction และตึกหลังนี้เคยได้รับรางวัล Emporis Skyscraper Award เมื่อพ.ศ. 2547 ทั้งยังได้รับการจัดให้เป็นหนึ่งในเจ็ดมหัศจรรย์ของโลก (นิตยสาร Newsweek magazine, 2006) มาแล้ว
ตึกไทเป 101สูงจากพื้นดินขึ้นไป 509.2 เมตรหรือประมาณครึ่งกิโลเมตร มีทั้งหมด 101 ชั้นกับชั้นใต้ดินอีก 5 ชั้น รูปแบบของอาคารแห่งนี้นับว่าสร้างความฮือฮาให้กับวงการวิศวกรรมพอสมควร รูปแบบอาคารเป็นแบบโพสต์โมเดิร์นผสมผสานกันระหว่างความเชื่อโบราณของชาวเอเชียกับความเชื่อสากล สิ่งที่เป็นจุดเด่นอีกอย่างหนี่งของอาคารแห่งนี้ก็คืออาคารแห่งนี้ถูกออกแบบมาให้ทนทานต่อแรงลมพายุและแรงสั่นสะเทือนของแผ่นดินไหว
ภายในตึกหลังนี้มีร้านรวง ภัตราคารและห้างต่างๆ ไว้บริการนักช้อปทั้งหลายมากมาย
หากต้องการดูรายละอียดทางสถาปัตยกรรมของอาคารหลังนี้เพิ่มเติมก็ลองเปิดไปดูได้จาก Wikipedia ครับ
ภาพจาก http://ainis.files.wordpress.com/2007/02/taipei-101.jpg
Tuesday, July 7, 2009
บริษัทคอมพิวเตอร์แหกตาลูกต้า
ลองอ่านข่าวนี้ไว้เป็นอุธาหรณ์ว่าเหตุการณ์อย่างนี้เกิดขึ้นได้ทุกที่ครับ ไม่เว้นแม้ในบ้านเราที่เกิดขึ้นได้บ่อยกว่า
Dell could face fine over Taiwan pricing errors
TAIPEI, Taiwan — A senior Taiwanese official said Tuesday that U.S. computer maker Dell Inc. could be fined up to $758,000 if authorities decide the company's handling of its recent online pricing errors has violated the law.
On June 25, Dell's Taiwanese Web site labeled its 19-inch LCD monitors at NT$500 (US$15.16) and 20-inch LCD monitors at NT$999 (US$30.29). In each case, that's about NT$7,000, or $210, less than the real retail price.
Again on July 5, Dell priced its Latitude E4300 notebook at NT$18,558 (US$562), only to correct it later to NT$60,900 (US$1,850).
In each incident, Round Rock, Texas-based Dell refused to honor the massive orders placed online by consumers but instead offered a NT$1,000 (US$30) discount for the LCD monitors, and a NT$20,000 (US$600) deduction for the laptop.
Taiwan's Fair Trade Commission Deputy Chairman Wu Hsiu-ming said authorities will determine whether Dell has violated the Fair Trade Law by failing to deliver orders as advertised.
"If we find Dell to have broken the law, the company could be fined NT$50,000 to NT$25 million," Wu said. In U.S. dollar terms, that's between $1,500 and $758,000.
Calls to Dell's Taiwan office rang unanswered. Dell's Taiwan general manager Terence Liao on Tuesday told the United Evening News that the company is trying its best to deal with the situation.
Dell's reluctance to deliver the wrongly priced orders has drawn a huge wave of criticism from Taiwanese Internet users and the media.
"Two major mistakes within 11 days have shown that there is a grave problem in Dell's Taiwan office management," the mass circulation Apple Daily said Tuesday in an editorial. "Refusing to deliver the wrongly priced orders is really hurting (Dell's) reputation."
เดลอาจถูกปรับฐานแจ้งราคาผิด
สรุปให้อ่านกันนะครับ
เรื่องของเรื่องก็มีอยู่ว่าบริษัทเดลซึ่งเป็นบริษัทคอมพิวเตอร์รายใหญ่ของสหรัฐมีฐานการผลิตอยู่ที่รัฐเท็กซัสอาจจะต้องถูกทางการไต้หวันปรับเป็นเงินสูงถึง758,000 ดอลลาร์ไต้หวัน หรือประมาณ 864,120 บาทด้วยเหตุที่ว่าบริษัทนี้ขอบลงโษณาราคาบนเน็ตผิดอยู่บ่อยๆ เช่น เมื่อวันที่ ๒๕ มิถุนายนที่ผ่านมาบริษัทเดลดันไปติดป้ายราคาคอมพิวเตอร์บนเว็บของตนที่ไต้หวันในราคาที่ถูกมากโดยติดป้ายราคาจอ LCD 19 นิ้ว ไว้ที่ NT$500 หรือแค่ 570 บาทและแจ้งราคาจอ LCD 20 นิ้วไว้ที่ราคา NT$999 หรือประมาณ 1,138 บาทซึ่งถูกกว่าราคาจริงถึง 7,000 ดอลลาร์ไต้หวัน
ก็ไม่ว่ากันมันผิดพลาดกันได้ แต่ทางการไม่คิดอย่างนั้นเพราะเรื่องทำนองนี้ก็เกิดขึ้นอีกเมื่อวันที่ ๕ กรกฎาคมโดยติดราคาขายโน้ตบุ้ค Latitude E4300 ไว้ที่ NT$18,558 หรือประมาณ 21,156บาททั้งที่ราคาจริงนั้นอยู่ที่ NT$60,900 ดอลลาร์ไต้หวันหรือประมาณ 69,421 บาท
ชาวบ้านชาวช่องเห็นราคาถูกอย่างนั้นก็แห่สั่งซื้อ แต่บริษัทกลับไม่ยอมส่งของให้โดยอ้างว่าราคาที่แจ้งไปนั้นผิด แต่ก็ชดเชยให้โดยการลดราคาให้จากราคาจริง 1,000 ดอลลาร์แทน ลูกค้าไต้หวันมาเจอไม้นี้เข้าก็มีโวยสิครับ เพราะการเล่นลูกเล่นแบบนี้เข้าข่ายละเมิดกฎหมายการค้าของไต้หวัน (Fair Trade Law) เพราะการกระทำความผิดถึงสองครั้งในเวลาห่างกันแค่ ๑๑ วันนั้นไม่ได้ผิดพลาดโดยบังเอิญแล้ว อย่างนี้มันต้องถอน เอ้ย สั่งสอนกันหน่อย ก็ฟ้องสิครับ
ถ้าหากว่าสอบสวนแล้วพบว่าบริษัทเดลมีความผิดจริง อาจต้องถูกปรับสูงสุดถึง 758,000 ดอลลาร์ไต้หวัน
น่าอิจฉาบ้านเขาที่เอาจริงเอาจังกับบริษัทที่ชอบโฆษณาแหกตาประชาชน (รวมทั้งนักการเมืองเลวๆ ด้วย) แต่ในบ้านเรานั้นยังอีกไกล ขนาดโกงกันชัดๆ พวกรัฐมนตรี(ขี้ทูด)พูดหน้าตาเฉยว่ายังไม่ได้รับรายงาน
Thank cow!
แหล่งที่มา หนังสือพิมพ์ China Post ของไต้หวัน ฉบับวันที่ July 8, 2009.
ภาพจาก MTHAI
Sunday, May 31, 2009
กระทิงแดงขาหัก
Red bull 'coke' pulled
All local retailers have removed the energy drink Red Bull imported from Austria from shelves after discovering traces of cocaine in the product.
ได้อ่านหนังสือพิมพ์ The China Post ของไต้หวัน เมื่อวันที่ ๓๑ พ.ค. ๕๒ ตามข่าวบอกว่าร้านค้าปลีกของไต้หวันทุกร้านเก็บเครื่องดื่มชูกำลังยี่ห้อกระทิงแดงที่นำเข้ามาจากออสเตรียออกจากร้านหมดแล้วหลังตรวจพบสารโคเคนปนอยู่ในผลิตภัณฑ์ดังกล่าว
ในข่าวยังบอกว่ากระทรวงสาธารณสุข(The Department of Health (DOH)ของไต้หวันสั่งให้บริษัท Nanlien International Corp.ซึ่งเป็นบริษัทนำเข้าเครื่องดื่มยี่ห้อนี้เข้ามาขายเก็บเครื่องดื่มกลับไปจากร้านต่างๆ ให้หมดเนื่องจากตรวจพบว่ามีสารดังกล่าวอยู่ในเครื่องดื่ม ๐.๐๓ ส่วนต่อโคเคนพันล้านส่วน
สิ่งที่น่าสนใจก็คือ คนไต้หวันที่ดื่มเครื่องดื่มชนืดนี้ ส่วนใหญ่ก็คล้ายๆ กับบ้านเรา ก็เป็นพวกผู้ใช้แรงงาน คนขับรถหรือคนที่ทำงานกะกลางคืนและแม้แต่นักเรียนนักศึกษาที่ถ่างตาดูหนังสือสอบก็นิยมดื่มกันเนื่องจากหลายคนคิดว่าเครื่องดื่มประเภทนี้ให้ผลชะงัด ดีกว่ากาแฟ
ได้เห็นความเอาใจใส่ของรัฐบาลเขาแล้วก็ชื่นใจแทนพลเมืองของเขา บ้านเราขายกันโครมๆ ไม่เห็นมีใครมาตรวจอะไร ตายก็เรื่องของเอ็ง อยากโง่ไปกินเองทำไม
สงสารคนไทยจริงๆ
ภาพจาก The China Post May 31, 2009
ระดับอุดมศึกษาของไต้หวัน Taiwan Higher Education
มีผู้อ่านสอบถามมาว่ามหาวิทยาลัยหรือวิทยาลัยที่ไหนบ้างในไต้หวันที่น่าเรียนและที่ กพ. รับรอง
ก็ขอตตอบว่าให้ลองเปิดเว็บของกพ. ดูนะครับ แต่ที่นำรายชื่อมหาวิทยาลัยมาให้ดูก็เพื่อจะได้หาข้อมูลการศึกษาง่ายขึ้นน่ะครับ
ลองเปิดดูตามมหาวิทยาลัยที่แนะนำนะครับ
Taiwanese Universities and Colleges - Taiwan Higher Education
Central Police University
Chang Gung University
Chang Jung University
Chao Yang University of Science and Technology
Chia Nana College of Pharmacy and Science
China Medical College
Chinese Culture University
Chung Hua University
Chung Shan Medical and Dental College
Chung Yuan Christian University
Da-Yeh University
Feng Chia University
Fu Jen Catholic University
Huafan University
I-Shou University
Kaohsiung Medical College
Kaohsuing Open University
Kung Shan Institute of Technology
Ming Chuan University
Nanhua University
National Central University
National Changhua University of Education
National Cheng Kung University
National Chengchi University
National Chi Nan University
National Chiao Tung University
National Chiayi University
National Chung Cheng University
National Chung Hsing University, Taichung
National Chung Hsing University, Taipei
National College of Physical Education and Sports
National Dong Hwa University
National Hsin-Chu Teachers College
National Hualien Teachers College
National Institute of the Arts
National Kaohsiung First University of Science and Technology
National Kaohsiung Normal University
National Kaohsiung University of Applied Sciences
National Open University
National Pingtung Teachers College
National Pingtung University of Science and Technology
National Sun Yat-Sen University
National Taichung Teachers College
National Tainan Teachers College
National Taipei College of Nursing
National Taipei Teachers College
National Taipei University of Technology
National Taitung Teachers College
National Taiwan College of Arts
National Taiwan College of Physical Education and Sports
National Taiwan Normal University
National Taiwan Ocean University
National Taiwan University
National Taiwan University of Science and Technology
National Tsinghua University
National University of Kaohsiung
National Yang Ming Medical College
National Yunlin University of Science and Technology
Providence University
Shih Chien University
Shih Hsin University
Soochow University
Southern Taiwan University of Technology
Taipei Medical College
Taipei Municipal Teachers College
Taipei Physical Education College
Tamkang University
Tatung Institute of Technology
Tunghai University
Tzu Chi College of Medicine and Humanities
Yuan Ze University
ก็ขอตตอบว่าให้ลองเปิดเว็บของกพ. ดูนะครับ แต่ที่นำรายชื่อมหาวิทยาลัยมาให้ดูก็เพื่อจะได้หาข้อมูลการศึกษาง่ายขึ้นน่ะครับ
ลองเปิดดูตามมหาวิทยาลัยที่แนะนำนะครับ
Taiwanese Universities and Colleges - Taiwan Higher Education
Central Police University
Chang Gung University
Chang Jung University
Chao Yang University of Science and Technology
Chia Nana College of Pharmacy and Science
China Medical College
Chinese Culture University
Chung Hua University
Chung Shan Medical and Dental College
Chung Yuan Christian University
Da-Yeh University
Feng Chia University
Fu Jen Catholic University
Huafan University
I-Shou University
Kaohsiung Medical College
Kaohsuing Open University
Kung Shan Institute of Technology
Ming Chuan University
Nanhua University
National Central University
National Changhua University of Education
National Cheng Kung University
National Chengchi University
National Chi Nan University
National Chiao Tung University
National Chiayi University
National Chung Cheng University
National Chung Hsing University, Taichung
National Chung Hsing University, Taipei
National College of Physical Education and Sports
National Dong Hwa University
National Hsin-Chu Teachers College
National Hualien Teachers College
National Institute of the Arts
National Kaohsiung First University of Science and Technology
National Kaohsiung Normal University
National Kaohsiung University of Applied Sciences
National Open University
National Pingtung Teachers College
National Pingtung University of Science and Technology
National Sun Yat-Sen University
National Taichung Teachers College
National Tainan Teachers College
National Taipei College of Nursing
National Taipei Teachers College
National Taipei University of Technology
National Taitung Teachers College
National Taiwan College of Arts
National Taiwan College of Physical Education and Sports
National Taiwan Normal University
National Taiwan Ocean University
National Taiwan University
National Taiwan University of Science and Technology
National Tsinghua University
National University of Kaohsiung
National Yang Ming Medical College
National Yunlin University of Science and Technology
Providence University
Shih Chien University
Shih Hsin University
Soochow University
Southern Taiwan University of Technology
Taipei Medical College
Taipei Municipal Teachers College
Taipei Physical Education College
Tamkang University
Tatung Institute of Technology
Tunghai University
Tzu Chi College of Medicine and Humanities
Yuan Ze University
Tuesday, January 27, 2009
Taiwan High Speed Rail
เกาะไต้หวันมีภูมิปะเทศเป็นภูเขา การเดินทางจากภาคใต้หรือฝั่งตะวันตกไปไทเปเมืองหลวงของประเทศนั้นใช้เวลาเดินทางมากเพราะถนนหนทางสมัยก่อนนั้นต้องลัดเลาะไปตามสันเขา ใช้เวลาเดินทางมากโขอยู่ ประกอบกับความต้องการการเดินทางของประชาชนที่อยู่ในพื้นที่ต่างๆ ของไต้หวันเพิ่มมากขึ้น รัฐบาลได้เห็นความสำคัญของการขนส่งจึงพยายามใช้ทางเลือกอื่น นั่นคือการขนส่งมวลชนที่ขนผู้โดยสารได้ครั้งละมากๆ ขนส่งมลชนที่น่าสนใจคือรถไฟความเร็วสูงหรือ Highspeed Rail
แผนการก่อสร้างเริ่มขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2535 โดยใช้งบประมาณทั้งสิ้น 1 หมื่ น 8 พัน ล้านดอลลาร์สหรัฐ ก็ลองคิดเป็นเงินไทยประมาณ 6 แสน 1 หมื่น 2 พันล้านบาท
รัฐบาลเซ็นสัญญากับบริษัทเอกชนรายหนึ่ง เมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม 2541 เพื่อเริ่มดำเนินการก่อสร้าง
หลังจากสร้างเสร็จก็มีการทดสอบ ทดลองวิ่งเมื่อเดือนมกราคม 2548 โดยวิ่งไปสถานี Tainan Station และขยายสถานีเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จนถึงปัจจุบัน
ลองเปิดไปดูภาพรถไฟด่วนได้ที่ Taiwan High Speed Rail
Monday, December 22, 2008
ดนตรี
ดนตรีโบราณ
ปัจจุบัน คนส่วนใหญ่ของไต้หวันชอบคนตรีสมัยใหม่จาก MTV มากกว่าคนตรีจีนเดิม อย่างไรก็ตาม การเล่นเครื่องดนตรีโบราณยังคงมีสอนอยู่ในโรงเรียนและมหาวิทยาลัยต่างๆ เครื่องดนตรีส่วนใหญ่เป็นเครื่องสายและเครื่องเป่าจำพวกขลุ่ยต่างๆ มากมาย
เครื่องดนตรีโบราณที่เราพบเห็นบ่อยๆ ได้แก่ ซอซึ่งมีแบบสองสาย สามสาย สี่สาย ซึ่งเรียกในชื่อต่างกันไป
เครื่องเป่าก็มีทั้งแบบเป่าแนวตั้งและแนวนอนคล้ายๆ ขลุ่ยในบ้านเราเหมือนกันแต่เสียงออกจะโหยหวนอยู่สักหน่อย
ดนตรีร่วมสมัย
ชาวไต้หวันชอบเพลงนุ่มๆ มีเพียงส่วนน้อยเม่านั้นที่ชอบเพลงแรงๆ จนต่อมาเมื่อมีการยกเลิกกฎอัยการศึกเมื่อพ.ศ. 2530 ดนตรีร้องไต้หวันถูกสั่งห้ามออกอากาศ และนี่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงดนตรีของไต้หวันจนทำให้ดนตรีแบแบบนุ่มๆ กลับมาได้รับความนิยมอีกครั้ง
ปัจจุบันเราสามารถฟังดนตรีจากต่างประเทศมากมายในไต้หวันทุกรูปแบบ ทั้งที่มาจากฮ่องกงและที่อื่นๆ
Arts
Tuesday, June 17, 2008
การศึกษา
จำนวนประชากรที่อ่านออกเขียนได้ในไต้หวันนั้นสูงกว่าร้อยละ 93 ส่วนผู้ที่อ่านหนังสือไม่ออก เขียนไม่ได้นั้นก็มาจากเหตุผลที่ส่วนใหญ่คนเหล่านี้เป็นผู้สูงอายุที่ขาดโอกาสทางการศึกษาในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง
ชาวไต้หวันเป็นผู้ที่อยากจะได้รับการศึกษาสูงๆ ดังนั้นการจะเข้าศึกษาในระดับมหาวิทยาลัยจึงเป็นเรื่องชี้เป็น ชี้ตายคล้ายๆ กับบ้านเรา การจะสอบเข้ามหาวิทยาลัยจึงมีการแข่งขันกันสูงมาก ก็อย่างว่า การแข่งขันสูงๆ อย่างนั้นจึงเป็นโอกาสของโรงเรียนกวดวิชาเอกชนต่างๆ ที่ผุดกันขึ้นเป็นดอกเห็ดคล้ายๆ บ้านเราอีกเช่นกัน ไม่เว้นแม้กระทั่งเด็กๆ ที่ทางบ้านรายได้ไม่ดีนักก็ยังต้องใช้เวลาในตอนเย็น วันหยุดหรือช่วงโรงเรียนปิดเทอมไปกวดวิชากันอย่างบ้าคลั่ง
การศึกษาในระดับมหาวิทยาลัยในไต้หวันนั้นมุ่งเน้นการเรียนการสอนไปที่สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ว่ากันว่ามีนักศึกษาของไต้หวันประมาณร้อยละ 35 จากจำนวนนักศึกษามหาวิทยาลัยของไต้หวันทั้งสิ้นประมาณ 350,000 คนนั้นเรียนสาขาวิศวกรรม
ชาวต่างชาติที่อยากจะเรียนมหาวิทยาลัยในไต้หวันก็จะต้องพูดและใช้ภาษาจีนได้คล่อง เพราะไม่อย่าสงนั้นแล้วก็ไม่สามารถฟังการบรรยายที่เป็นภาษาจีน(แมนดริน)ได้
ภาพ นักเรียนมัธยมกำลังฝึกฟังภาษาอังกฤษในห้องปฏิบัติการทางภาษา
จาก A Breif Introduction to Taiwan
ข้อมูล lonely planet
Thursday, June 12, 2008
พลเมืองและประชากรของไต้หวัน
ไต้หวันมีพลเมืองประมาณ 22.56 ล้านคน (สถิติเมื่อเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2546) ความหนาแน่นของประชากรของไต้หวันอยู่ที่ 698 คนต่อหนึ่งตารางกิโลเมตรซึ่งจัดได้ว่าเป็นประเทศที่มีประชากรหนาแน่นที่สุดของโลกประเทศหนึ่ง เมืองเกาสงซึ่งอยู่ทางใต้ของไต้หวัน เป็นเมืองที่มีประชากรอาศัยอยู่หนาแน่นที่สุด รองลงมาได้แก่ ไทเปและไท้จง ประชากรกว่าร้อยละ 70 ของประชากรทั้งหมดอาศัยอาศัยอยู่ตามเมืองใหญ่ๆ
เมื่อสามสิบปีกว่าปีก่อนอัตราการเจริญเติบโตของพลเมืองไต้หวันเพิ่มขึ้นมาร้อยละ 1.8 พอถึงปลายปี พ.ศ. 2545 จำนวนพลเมืองไต้หวันที่มีอายุ 65 ปี มีมากกว่าร้อยละ 9 ของจำนวนประชากรทั้งทั้งหมด และนับวันจำนวนผู้สูงอายุในประเทศนี้ยิ่งเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ
ข้อมูลและภาพ จาก A Brief Introduction to Taiwan
Tuesday, June 10, 2008
พรรคการเมืองไต้หวัน (2)
พรรคก้าวหน้าประชาธิปไตย (Democratic Progressive Party)
พรรค DPP อยู่ในฐานะเป็นทั้งพรรคฝ่ายค้านและฝ่ายรัฐบาล (ตำแหน่งประธานาธิบดีเป็นของฝ่ายพรรค DPP ขณะที่ฝ่ายสมาชิกสภาฯเสียงส่วนใหญ่เป็นของพรรค KMT) พรรคนี้ไม่ได้มุ่งเน้นนโยบายกลับไปรวมกับแผ่นดินใหญ่ แต่จะมุ่งเน้นไปที่การปกครองในไทเปเอง ในปี พ.ศ. 2537 เมื่อนายเฉิน สุ่ยเปียนผู้สมัครของพรรค DPP เข้าลงสมัครชิงตำแหน่งนายกเทศมนตรี ต่อมานายเฉินพ่ายแพ้การเลือกตั้งในตำแหน่งนายกเทศมนตรีเมืองไทเปให้แก่พรรค KMT เมื่อ พ.ศ. 2541 อย่างไรก็ตาม ในพ.ศ. 2543 เขาแก้มือได้สำเร็จเมื่อเขาได้รับเลือกเป็นประธานาธิบดีของไต้หวัน
พรรค DPP เป็นพรรคเอียงซ้ายของไต้หวัน บรรดานักการเมืองของพรรคมักจะให้สัญญากับประชาชนว่าจะเน้นในเรื่องสวัสดิการสังคม (โดยเฉพาะเงินเกษียณ) แต่นโยบายดังกล่าวก็ทำไม่ได้ดังที่ให้สัญญาไว้และกลายเป็นว่าการนำเงินเกษียณมาใช้นี้ทำให้ต้องขึ้นเงินภาษีกันขนานใหญ่
พรรค DPP ใช้กลยุทธหาเสียงโดยการปกป้อง พิทักษ์สิ่งแวดล้อม แต่ก็อย่างว่า นโยบายนี้ทำให้บรรดากลุ่มนักธุรกิจไม่พอใจ แต่ทำให้พรรคได้รับการชื่นชมมากมายจากการที่พรรคคัดค้านการลงทุนจากบริษัทเคมียักษ์ใหญ่อย่างไบเออร์ในไต้หวัน ประธานาธิบดีเฉิน สุ่ยเปียนเข้าไปแทรกแซงเพื่อให้ยกเลิกการสร้างเขื่อนเหมียน-อึงที่ว่ากันว่าเขื่อนนี้เป็นแหล่งน้ำสำคัญในการหล่อเลี้ยงนิคมอุตสาหกรรมใหญ่แห่งหนึ่งทางตอนใต้ของไต้หวัน ที่เป็นข่าวใหญ่โตอีกเรื่องหนึ่งได้แก่การที่พรรคDPP คัดค้านการสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์โรงที่สี่ของไต้หวัน จนเป็นเหตุให้พรรค KMT พรรค PPP และพรรค NP ขู่จะล่ารายชื่อเพื่อเข้ากระบวนการยื่นถอดถอนประธานาธิบดีในข้อหายยกเลิกโครงการโรงไฟฟ้าพลังนิวเคลียร์ดังกล่าว
พรรค DPP ได้ให้สัญญากับประชาชนไว้มากมายหลายเรื่อง ไม่ว่าจะเรื่องสิทธิมนุษยชน สิ่งแวดล้อม สวัสดิการสังคม ไม่มีภาษีใหม่ ลดชั่วโมงทำงานให้น้อยลง ทำให้เศรษฐกิจดีขึ้นหรือแม้แต่การประกาศอิสระของไต้หวัน อย่างไรก็ตาม ลงท้ายก็จบลงด้วยการโกงกินของนักการเมืองในรัฐบาลพรคนี้
นอกจากนั้น ยังมีพรรคการเมืองเล็กๆ อีกสี่พรรค ได้แก่
พรรค New Party
พรรค People's First Party
พรรคTaiwan Independant Party
และพรค Green Party
ข้อมูล lonely palnet
ภาพจาก Asia News.it
Thursday, June 5, 2008
พรรคการเมืองของไต้หวัน
พรรคก๊กมินตั๋ง (Kuomintang)
พรรค KMT ปกครองประเทศไต้หวันนับตั้งแต่ก่อตั้งพรรคอย่างเป็นทางการ เมื่อพ.ศ.2454 และพรรคนี้ยังคงควบคุมสภาของไต้หวันอยู่ อย่างไรก็ตามจนถึงขณะนี้พรรคเสียรางวัดไปมากเพราะพ่ายแพ้การเลือกตั้งประธานาธิบดีให้กับพรรคคู่แข่ง
พรรคนี้พยายามที่จะกลับไปรวมกับจีนแผ่นดินใหญ่ แต่ผู้ที่อยากจะรวมกับจีนนี้ได้แก่เจ้าหน้าที่ระดับสูงของ KMT ที่บางคนย้ายครอบครัว ย้ายบัญชีเงินฝากหรือบางคนเปลี่ยนสัญชาติไปอยู่อเมริกาหมดแล้ว
จุดอ่อนของพรรคที่ดูจะเป็นเรื่องใหญ่ที่สุดแก่นโยบาย “ทองคำทมิฬ” พรรคนี้มีเครือข่ายติดต่อกับแก้งค์อาชญากรรมและถูกกล่าวหาว่าโกงกินบ้านเมือง คอรัปชั่นมากมายและซื้อเสียง (ทำไมช่างบังเอิญมาคล้ายกับพรรคการเมืองพรรคหนึ่งในบ้านเราเลย) พรรคนี้พยายามล้างภาพที่ไม่สู้ดีของตนเองโดยการปฏิรูปองค์กรการต่อต้านการโกงกินบ้านกินเมืองและรณรงค์ต่อต้านอาชญากรรม อย่างไรก็ตาม หลายฝ่ายเห็นว่าการกระทำอย่างนั้นมันสายเกินไปแล้ว
ภาพ Lien Chan, Chairman of Chinese Kuomintang (KMT) 2005
ข้อมูล lonely planet
Tuesday, June 3, 2008
ปฏิรูปการเมือง (Political Reform)
ในปีพ.ศ. 2529 เกิดการสั่นสะเทือนทางการเมืองครั้งใหญ่ในไต้หวันพร้อมกับการกำเนิดพรรคการเมืองที่ชื่อ พรรคก้าวหน้าประชาธิปไตย (Democratic Progressive Party หรือ DPP) แม้รัฐบาลจะมีคำสั่งห้ามมิให้มีการจัดตั้งพรรคการเมืองใหม่ขึ้น หลังการอภิปราย หารือและเจรจากันในพรรคหลายครั้ง ในที่สุด KMTก็ตัดสินใจไม่เข้าไปแทรกแซงพรรค DPP ผู้แทนของพรรคนี้ได้รับเลือกตั้งเข้ามาเป็นจำนวนมากในปีพ.ศ. 2529 และได้เข้าไปนั่งในสภา และนี่เองที่ถือเป็นการกำเนิดพรรคฝ่ายค้านจริงๆ เป็นครั้งแรกของไต้หวัน
ถึงพ.ศ. 2530 กฎอัยการศึกที่ใช้มานานถึง 38 ก็สิ้นสุดลง และเป็นกฎหมายฉบับสุดท้ายของประธานาธิบดีเจียง ชิงเกาก่อนที่เขาจะเสียชีวิต ประธานาธิบดีคนต่อมาได้แก่ นาย ลี เต็ง ฮุยซึ่งเป็นชาวไต้หวันโดยกำเนิดคนแรกที่ได้รับตำแหน่งประธานาธิบดี
กฎหมายที่สำคัญฉบับแรกของประธานาธิบดีลีได้แก่ การแก้ปัญหา “ผู้แทนอาวุโส” ของพรรค KMT ซึ่งได้รับเลือกตั้งเข้ามาจากจีนแผ่นดินใหญ่ก่อนที่คอมมูนิวนิสต์จะยึดอำนาจ เมื่อไม่สามารถเลือกตั้งใหม่ได้ พวกผู้แทนเหล่านี้ก็ต้องถูกแช่อยู่ในตำแหน่งมากว่า 40 ปีโดยการอ้างว่าพวกเขาเป็นตัวแทนการปกครองตามรัฐธรรมนูญจากแผ่นดินใหญ่ เมื่อเดือนธันวาคม 2534 ผู้แทนที่ยังมีชีวิตอยู่เหล่านี้ (กว่า 460 คน) ก็ถูกบังคับให้เกษียณและจัดให้มีการเลือกตั้งเสรีเป็นครั้งแรกเพื่อเลือกผู้แทนเข้าสภา การเปลี่ยนแปลงในครั้งนั้นทำให้ประธานาธิบดีลีได้รับความนิยมอย่างสูงและทำให้เขาได้รับฉายาอย่างเป็นทางการว่า “มิสเตอร์ประชาธิปไตย”
เมื่อผู้แทนอาวุโสเกษียณไป การปฏิรูปต่างๆ ก็ตามมาอย่างรวดเร็ว กฎหมายและ ข้อห้ามต่างๆ เกี่ยวกับสื่อมวลชนถูกยกเลิกไปเกือบหมด การอภิปรายในสภา(รวมทั้งการวางมวยในสภา)ถูกถ่ายทอดทางโทรทัศน์เป็นครั้งแรก และทำให้ชาวไต้หวันคุยได้ว่าพวกเขาเป็นประเทศที่มีประชาธิปไตยมากที่สุดประเทศหนึ่งในเอเชียเหมือนกัน
ภาพ การวางมวยของผู้แทนในสภาไต้หวัน จาก Fight in Taiwan's Parliament
ข้อมูล lonely planet
สองจีน
พอมาถึงปี พ.ศ. 2492 พวกคอมมิวนิสต์ก็เข้ายึดอำนาจในจีนแผ่นดินใหญ่จากก๊กมินตั๋ง (KMT) และก่อตั้งสาธารณรัฐประชาชนจีน (Republic of China)ขึ้น ฝ่ายของ KMT ก็ต้องถอยร่นหลบหนีไปไต้ไต้หวันพร้อมกับนำธงและรัฐธรรมนูญของ ROC ติดมาด้วย นับแต่นั้นมาก็ทำให้เกิดตำนานสองจีนขึ้น นั่นคือ ROC(ไต้หวัน) และ PRC (สาธารณรัฐประชาชนจีน)
ชาวจีน 1 ล้าน 5 แสนคน ซึ่งในจำนวนนี้เป็นทหารประมาณ 600,000 คนเดินทางมาไต้หวันหลังพวกคอมมิวนิสต์ยึดอำนาจได้ในจีน พลเมืองบนเกาะไต้หวันแห่งนี้เพิ่มจำนวนขึ้นอย่างรวดเร็วในระยะเวลาไม่ถึงห้าปี โดยเพิ่มจาก 6 ล้านคนในปีพ.ศ. 2489 เป็น7 ล้าน 5 แสนคนในปี พ.ศ. 2493
ขณะที่คนจีนเหล่านี้หลบหนีออกมา พวกทหารของก๊กมินตั๋ง KMT สามารถยึดเกาะเล็กๆ อีกสามเกาะนอกชายฝั่งจีนแผ่นดินใหญ่ได้ เกาะทั้งสามได้แก่ คินเหมิน(Kinmen) เกาะมัตสุ(Matsu)และเกาะวูชิว (Wuchiu) เกาะทั้งสามเกาะนี้ยังเป็นของไต้หวันจนถึงปัจจุบัน
เป็นที่ทราบกันในตอนนั้นว่ากองทัพของฝ่ายคอมมูนิสต์จีนจะต้องรุกรานไต้หวันแน่ๆ แต่ก็ต้องชะงักลงไปเมื่อเกิดสงครามเกาหลี สหรัฐส่งกองเรือที่ 7 เข้าช่องแคบไต้หวันเพื่อขัดขวางแผนการรุกรานของคอมมิวนิสต์ที่อาจะเกิดขึ้น
ก๊กมินตั๋งยังคงยืนยันมาตั้งแต่ต้นว่าการอยู่ไต้หวันนั้นเป็นการอยู่ชั่วคราวและพวกเขาจะกลับไปยึดอำนาจคืนจากพวกคอมมิวนิสต์ในจีนแผ่นดินใหญ่ในเร็ววันนี้ ในขณะเดียวกันก็ไม่ยอมให้มีพรรคฝ่ายค้าน นโยบายดังว่านี้ทำให้ชาวพื้นเมืองของไต้หวันไม่ชอบ นอกจากนั้น KMTก็พิสูจน์ตัวเองว่าสามารถฟื้นฟูเศรษฐกิจที่เสียหายจากสงครามได้ มีการนำโครงการปฏิรูปที่ดินมาใช้เมื่อพ.ศ. 2493 ซึ่งเป็นผลทำให้รายได้ประชาชาติสูงที่สุดในเอเชีย การก้าวกระโดดทางอุตสาหกรรมอย่างรวดเร็วเมื่อพ.ศ. 2503 ทำให้ไต้หวันกลายเป็นประเทศที่มั่งคั่งที่สุดในเอเชีย
ภาพ Shin Kong Tower Observatory
ถ่ายโดย Phillip Epps
ข้อมูลจาก lonely planet
Friday, May 30, 2008
สาธารณรัฐจีน
ในช่วงครึ่งแรกของศตวรรษที่ 21 เหตุการณ์ต่างๆในจีนแผ่นดินใหญ่ส่งผลต่ออนาคตของไต้หวันอย่างใหญ่หลวง ราชวงศ์ชิงซึ่งเป็นราชวงศ์สุดท้ายของจีนล่มสลายลงในปีพ.ศ. 2454 หลังเกิดการกบถครั้งใหญ่ขึ้น ผู้นำการเปลี่ยนแปลงครั้งนั้นได้แก่ ดร. ซุน ยัตเซ็นซึ่งต่อมาได้เป็นประธานาธิบดีคนแรกของสาธารณรัฐจีน (Republic of China)
ซุน ยัตเซ็นไม่ได้เมาอำนาจ เขาก้าวลงจากตำแหน่งเพื่อให้ หยวน ซีไข (Yuan Shikai) ขึ้นดำรงตำแหน่งแทน แต่หยวน ซีไขไม่ได้ก็ดำเนินรอยตามวิสัยทัศน์ของซุน ยัตเซ็นเพื่อพัฒนาจีนให้เป็นประชาธิปไตย เขากลับพยายามตั้งตนเป็นจักพรรดิคนใหม่แทน แต่ท้ายที่สุดเขาก็ทำไม่สำเร็จและจบชีวิตลงด้วยโรคมะเร็งเมื่อพ.ศ. 2459
ในช่วงสงครามกลางเมืองก่อให้เกิดความวุ่นวายมากมาย ประเทศได้แตกแยกเป็นหลายฝักหลายฝ่ายเพื่อแย่งชิงอำนาจกัน ในที่สุดความสงบก็ค่อยๆ กลับคืนสู่ภาวะปกติ เมื่อก๊กมินตั๋ง (KMT)หรือพรรคแห่งชาติ(National Party) เรืองอำนาจ กองทัพของพรรคแห่งชาติซึ่งนำโดยเจียง ไคเช็ค อย่างไรก็ตาม KMT ก็พบปัญหารุมเร้ามากมายทั้งจากภายในเองและจากภายนอก ไม่ว่าจะเป็นกองกำลังทหารของญี่ปุ่นและจากฝ่ายกบถคอมมิวนิสต์ในประเทศ ในปีพ.ศ.2474 กองกำลังทหารของญี่ปุ่นเข้ายึดครองแมนจูเรีย พ.ศ. 2480 ทหารญี่ปุ่นก็บุกเข้าเมืองหลวงของจีน
หลังญี่ปุ่นพ่ายแพ้สงครามโลกครั้งที่ 2 ภายใต้สนธิสัญญายัลต้า (Yalta Agreement) จีนได้อธิปไตยไต้หวันกลับคืนมา ชาวไต้หวันต่างยินดีที่สงครามสงบลง แต่ความปรีดาของชาวไต้หวันก็อยู่ได้ไม่นานเมื่อ เจียงไคเช็คส่งนายพลเชน ยี่จอมขี้ฉ้อและทำงานไม่เป็นมาเป็นผู้ว่าราชการไต้หวัน การปกครองของรัฐบาลฉ้อราษฎร์ของเชน ยี่มาถึงขีดสุดเมื่อเกิดการจลาจลต่อต้านก๊กมินตั๋งครั้งใหญ่ เมื่อพ.ศ. 2490 การปราบจลาจลในครั้งทำให้พลเรือนชาวไต้หวันถูกสังหารไปถึง 10,000 ถึง 30,000 คน เหตุการณ์ครั้งนั้นซึ่งเป็นที่รู้จักกันในชื่อ ‘2-28’ (ซึ่งเป็นวันที่เกิดเหตุการณ์วิปโยคขึ้น) ยังเป็นที่จดจำของชาวไต้หวันมาจนถึงทุกวันนี้
รัฐบาลสั่งห้ามทุกคนเอ่ยถึงเรื่องนี้ในไต้หวันจนกระทั่งมีการยกเลิกกฏอัยการศึกเมื่อ พ.ศ. 2530 นี่เอง
ภาพ Dr. Sun Yatsen จาก Google Image
ข้อมูล lonely planet/ Taiwan
Saturday, May 10, 2008
ญี่ปุ่นล่าเมืองขึ้น
ปี พ.ศ. 2437 เกิดข้อพิพาทกรณีเกาหลีจนนำไปสู่สงครามระหว่างจีน-ญี่ปุ่น ตอนนั้นไต้หวันซึ่งอยู่ไกลจากจีนพยายามหลีกเลี่ยงสงครามในจีน แต่พอจีนแผ่นดินใหญ่พ่ายแพ้สงครามเมื่อพ.ศ. 2438 ไต้หวันกลับกลายเป็นประเทศหนึ่งที่ได้รับผลกระทบจากสงครามและตกอยู่ภายใต้การยึดครองของญี่ปุ่น แม้ญี่ปุ่นปกครองไต้หวันด้วยกฎหมายและคำสั่งของญี่ปุ่น แต่ก็เป็นคำสั่งที่เข้มงวด ชาวไต้หวันหลายกลุ่มไม่ยอมปฏิบัติตามกฎและแข็งข้อต่อคำสั่งและกฎหมายของญี่ปุ่นพร้อมทั้งประกาศตนเป็นสาธารณรัฐฟอร์โมซา สาธารณรัฐอิสระแห่งแรกของเอเชียในปีนั้น และก็ถูกญี่ปุ่นปราบปรามอย่างโหดเหี้ยม ไต้หวันถูกญี่ปุ่นยึดครองอยู่นานถึง 50 ปี อิทธิพลของญี่ปุ่นยังคงอยู่ในวัฒนธรรมของชาวไต้หวันจนถึงทุกวันนี้ ดังจะเห็นได้จากคนที่สูงอายุของไต้หวันหลายคนยังพูดภาษาญี่ปุ่นอยู่
แม้ญี่ปุ่นจะกดขี่ชาวไต้หวัน แต่ก็ไม่มีการต่อต้าน อย่างไรก็ตามในช่วงการยึดครอง ญี่ปุ่นนำความเจริญมาสู่ไต้หวันด้วยเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นด้านการศึกษาหรือเศรษฐกิจ ทำให้ไต้หวันเจริญกว่าจีนแผ่นดินใหญ่ในช่วงการยึดครอง
ไม่ใช่แค่นั้น รัฐบาลอาณานิคมของญี่ปุ่นจำต้องส่งคนและวัตถุดิบไปป้อนประเทศแม่ซึ่งที่นั่น สงครามเครื่องจักรกลกำลังเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว เมื่อสงครามโลกครั้งที่สองประทุขึ้น ญึ่งปุ่นเกณฑ์ชาวไต้หวันหลายหมื่นคนไปช่วยรบซึ่งในจำนวนนี้มีเป็นจำนวนมากล้มตายและได้รับบาดเจ็บจากสงคราม กองทัพพันธมิตรตะวันตกทิ้งระเบิดฐานทัพและเขตซ่องสุมกำลังของทหารญี่ปุ่นในไต้หวันจนย่อยยับ เมื่อสงครามสิ้นสุดลง เศรษฐกิจของไต้หวัน จีนแผ่นดินใหญ่และญี่ปุ่นเองถูกทำลายย่อยยับเช่นกัน
ภาพทหารญี่ปุ่นเข้าไทเป ซีตี้เมื่อพ.ศ. 2438
ภาพจาก Wikipedia
ข้อมูล lonely planet
พวกยุโรปยึดครองไต้หวัน
เมื่อราว พ.ศ. 2060 ชาวโปรตุเกสเป็นชาวยุโรปพวกแรกที่เดินทางโดยทางเรือมาขึ้นฝั่งที่เกาะไต้หวันและติดใจในความงดงามของเกาะแห่งนี้และตั้งชื่อเกาะว่า Ilha Formosa ซึ่งหมายถึง เกาะสวย บางครั้งเรายังคงได้ยินคนเอ่ยถึงชื่อนี้บ้าง ปัจจุบันโดยทั่วไปเกาะแห่งนี้เป็นที่รู้จักกันในชื่อจีน คือไต้หวันซึ่งแปลตรงตัวว่า “อ่าวเป็นชั้นๆ “
การพยายามครอบครองไต้หวันเพื่อเป็นอาณานิคมของพวกยุโรปนั้นไม่ได้สะดวกราบรื่นเท่าใดนัก พวกดัทช์เข้ามารุกรานไต้หวันเมื่อ พ.ศ. 2167 พวกนี้ตั้งเมืองหลวงขึ้นครั้งแรกในไต้หวันที่ ไท้หนาน(Tainan) ซึ่งอยู่ทางตะวันตกเฉียงใต้ของไต้หวันตอนนี้ สองปีต่อมา พวกสเปญก็บุกเข้ามายึดพื้นที่ทางตอนเหนือของไต้หวัน แต่ก็ถูกพวกดัทช์ขับไล่ออกไปเมื่อ พ.ศ. 2184
ไต้หวันเองไม่มีกองกำลังจะต่อต้านการยึดครองของพวกดัทช์ได้ แต่ต่อมาเหตุการณ์ต่างๆ ในจีนผืนแผ่นดินใหญ่ก็เปลี่ยนแปลงสิ่งต่างๆ มากมาย เกิดการนองเลือดในจีนเมื่อกองทัพของราชวงศ์ชิง (Qing Dynasty) หรือพวกแมนจูกวาดล้างพวกที่ให้การสนับสนุนราชวงศ์หมิง (Ming dynasty) เช็ง เช็งกง (Cheng Chengkung) ซึ่งอยู่ฝ่ายราชวงศ์หมิง หนีข้ามมาเกาะไต้หวัน เขาหนีมาพร้อมกับทหาร 35,000 คน เมื่อ พ.ศ. 2204 และจากนั้นก็ขับไล่พวกดัทช์ที่ตั้งฐานที่มั่นอยู่ในไท้หนานออกไปจนหมด
ข้อมูล lonely planet
ภาพ New Taiwan
Subscribe to:
Posts (Atom)