Google

Friday, May 30, 2008

สาธารณรัฐจีน


ในช่วงครึ่งแรกของศตวรรษที่ 21 เหตุการณ์ต่างๆในจีนแผ่นดินใหญ่ส่งผลต่ออนาคตของไต้หวันอย่างใหญ่หลวง ราชวงศ์ชิงซึ่งเป็นราชวงศ์สุดท้ายของจีนล่มสลายลงในปีพ.ศ. 2454 หลังเกิดการกบถครั้งใหญ่ขึ้น ผู้นำการเปลี่ยนแปลงครั้งนั้นได้แก่ ดร. ซุน ยัตเซ็นซึ่งต่อมาได้เป็นประธานาธิบดีคนแรกของสาธารณรัฐจีน (Republic of China)

ซุน ยัตเซ็นไม่ได้เมาอำนาจ เขาก้าวลงจากตำแหน่งเพื่อให้ หยวน ซีไข (Yuan Shikai) ขึ้นดำรงตำแหน่งแทน แต่หยวน ซีไขไม่ได้ก็ดำเนินรอยตามวิสัยทัศน์ของซุน ยัตเซ็นเพื่อพัฒนาจีนให้เป็นประชาธิปไตย เขากลับพยายามตั้งตนเป็นจักพรรดิคนใหม่แทน แต่ท้ายที่สุดเขาก็ทำไม่สำเร็จและจบชีวิตลงด้วยโรคมะเร็งเมื่อพ.ศ. 2459

ในช่วงสงครามกลางเมืองก่อให้เกิดความวุ่นวายมากมาย ประเทศได้แตกแยกเป็นหลายฝักหลายฝ่ายเพื่อแย่งชิงอำนาจกัน ในที่สุดความสงบก็ค่อยๆ กลับคืนสู่ภาวะปกติ เมื่อก๊กมินตั๋ง (KMT)หรือพรรคแห่งชาติ(National Party) เรืองอำนาจ กองทัพของพรรคแห่งชาติซึ่งนำโดยเจียง ไคเช็ค อย่างไรก็ตาม KMT ก็พบปัญหารุมเร้ามากมายทั้งจากภายในเองและจากภายนอก ไม่ว่าจะเป็นกองกำลังทหารของญี่ปุ่นและจากฝ่ายกบถคอมมิวนิสต์ในประเทศ ในปีพ.ศ.2474 กองกำลังทหารของญี่ปุ่นเข้ายึดครองแมนจูเรีย พ.ศ. 2480 ทหารญี่ปุ่นก็บุกเข้าเมืองหลวงของจีน

หลังญี่ปุ่นพ่ายแพ้สงครามโลกครั้งที่ 2 ภายใต้สนธิสัญญายัลต้า (Yalta Agreement) จีนได้อธิปไตยไต้หวันกลับคืนมา ชาวไต้หวันต่างยินดีที่สงครามสงบลง แต่ความปรีดาของชาวไต้หวันก็อยู่ได้ไม่นานเมื่อ เจียงไคเช็คส่งนายพลเชน ยี่จอมขี้ฉ้อและทำงานไม่เป็นมาเป็นผู้ว่าราชการไต้หวัน การปกครองของรัฐบาลฉ้อราษฎร์ของเชน ยี่มาถึงขีดสุดเมื่อเกิดการจลาจลต่อต้านก๊กมินตั๋งครั้งใหญ่ เมื่อพ.ศ. 2490 การปราบจลาจลในครั้งทำให้พลเรือนชาวไต้หวันถูกสังหารไปถึง 10,000 ถึง 30,000 คน เหตุการณ์ครั้งนั้นซึ่งเป็นที่รู้จักกันในชื่อ ‘2-28’ (ซึ่งเป็นวันที่เกิดเหตุการณ์วิปโยคขึ้น) ยังเป็นที่จดจำของชาวไต้หวันมาจนถึงทุกวันนี้

รัฐบาลสั่งห้ามทุกคนเอ่ยถึงเรื่องนี้ในไต้หวันจนกระทั่งมีการยกเลิกกฏอัยการศึกเมื่อ พ.ศ. 2530 นี่เอง


ภาพ Dr. Sun Yatsen จาก Google Image

ข้อมูล lonely planet/ Taiwan

Saturday, May 10, 2008

ญี่ปุ่นล่าเมืองขึ้น



ปี พ.ศ. 2437 เกิดข้อพิพาทกรณีเกาหลีจนนำไปสู่สงครามระหว่างจีน-ญี่ปุ่น ตอนนั้นไต้หวันซึ่งอยู่ไกลจากจีนพยายามหลีกเลี่ยงสงครามในจีน แต่พอจีนแผ่นดินใหญ่พ่ายแพ้สงครามเมื่อพ.ศ. 2438 ไต้หวันกลับกลายเป็นประเทศหนึ่งที่ได้รับผลกระทบจากสงครามและตกอยู่ภายใต้การยึดครองของญี่ปุ่น แม้ญี่ปุ่นปกครองไต้หวันด้วยกฎหมายและคำสั่งของญี่ปุ่น แต่ก็เป็นคำสั่งที่เข้มงวด ชาวไต้หวันหลายกลุ่มไม่ยอมปฏิบัติตามกฎและแข็งข้อต่อคำสั่งและกฎหมายของญี่ปุ่นพร้อมทั้งประกาศตนเป็นสาธารณรัฐฟอร์โมซา สาธารณรัฐอิสระแห่งแรกของเอเชียในปีนั้น และก็ถูกญี่ปุ่นปราบปรามอย่างโหดเหี้ยม ไต้หวันถูกญี่ปุ่นยึดครองอยู่นานถึง 50 ปี อิทธิพลของญี่ปุ่นยังคงอยู่ในวัฒนธรรมของชาวไต้หวันจนถึงทุกวันนี้ ดังจะเห็นได้จากคนที่สูงอายุของไต้หวันหลายคนยังพูดภาษาญี่ปุ่นอยู่

แม้ญี่ปุ่นจะกดขี่ชาวไต้หวัน แต่ก็ไม่มีการต่อต้าน อย่างไรก็ตามในช่วงการยึดครอง ญี่ปุ่นนำความเจริญมาสู่ไต้หวันด้วยเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นด้านการศึกษาหรือเศรษฐกิจ ทำให้ไต้หวันเจริญกว่าจีนแผ่นดินใหญ่ในช่วงการยึดครอง

ไม่ใช่แค่นั้น รัฐบาลอาณานิคมของญี่ปุ่นจำต้องส่งคนและวัตถุดิบไปป้อนประเทศแม่ซึ่งที่นั่น สงครามเครื่องจักรกลกำลังเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว เมื่อสงครามโลกครั้งที่สองประทุขึ้น ญึ่งปุ่นเกณฑ์ชาวไต้หวันหลายหมื่นคนไปช่วยรบซึ่งในจำนวนนี้มีเป็นจำนวนมากล้มตายและได้รับบาดเจ็บจากสงคราม กองทัพพันธมิตรตะวันตกทิ้งระเบิดฐานทัพและเขตซ่องสุมกำลังของทหารญี่ปุ่นในไต้หวันจนย่อยยับ เมื่อสงครามสิ้นสุดลง เศรษฐกิจของไต้หวัน จีนแผ่นดินใหญ่และญี่ปุ่นเองถูกทำลายย่อยยับเช่นกัน

ภาพทหารญี่ปุ่นเข้าไทเป ซีตี้เมื่อพ.ศ. 2438

ภาพจาก Wikipedia

ข้อมูล lonely planet

พวกยุโรปยึดครองไต้หวัน



เมื่อราว พ.ศ. 2060 ชาวโปรตุเกสเป็นชาวยุโรปพวกแรกที่เดินทางโดยทางเรือมาขึ้นฝั่งที่เกาะไต้หวันและติดใจในความงดงามของเกาะแห่งนี้และตั้งชื่อเกาะว่า Ilha Formosa ซึ่งหมายถึง เกาะสวย บางครั้งเรายังคงได้ยินคนเอ่ยถึงชื่อนี้บ้าง ปัจจุบันโดยทั่วไปเกาะแห่งนี้เป็นที่รู้จักกันในชื่อจีน คือไต้หวันซึ่งแปลตรงตัวว่า “อ่าวเป็นชั้นๆ “

การพยายามครอบครองไต้หวันเพื่อเป็นอาณานิคมของพวกยุโรปนั้นไม่ได้สะดวกราบรื่นเท่าใดนัก พวกดัทช์เข้ามารุกรานไต้หวันเมื่อ พ.ศ. 2167 พวกนี้ตั้งเมืองหลวงขึ้นครั้งแรกในไต้หวันที่ ไท้หนาน(Tainan) ซึ่งอยู่ทางตะวันตกเฉียงใต้ของไต้หวันตอนนี้ สองปีต่อมา พวกสเปญก็บุกเข้ามายึดพื้นที่ทางตอนเหนือของไต้หวัน แต่ก็ถูกพวกดัทช์ขับไล่ออกไปเมื่อ พ.ศ. 2184

ไต้หวันเองไม่มีกองกำลังจะต่อต้านการยึดครองของพวกดัทช์ได้ แต่ต่อมาเหตุการณ์ต่างๆ ในจีนผืนแผ่นดินใหญ่ก็เปลี่ยนแปลงสิ่งต่างๆ มากมาย เกิดการนองเลือดในจีนเมื่อกองทัพของราชวงศ์ชิง (Qing Dynasty) หรือพวกแมนจูกวาดล้างพวกที่ให้การสนับสนุนราชวงศ์หมิง (Ming dynasty) เช็ง เช็งกง (Cheng Chengkung) ซึ่งอยู่ฝ่ายราชวงศ์หมิง หนีข้ามมาเกาะไต้หวัน เขาหนีมาพร้อมกับทหาร 35,000 คน เมื่อ พ.ศ. 2204 และจากนั้นก็ขับไล่พวกดัทช์ที่ตั้งฐานที่มั่นอยู่ในไท้หนานออกไปจนหมด

ข้อมูล lonely planet
ภาพ New Taiwan

ชาวจีนอพยพเข้ามาไต้หวัน



ตั้งแต่ช่วงศตวรรษที่ 15 ชาวจีนจากมณฑลฟูเจี้ยน(Fujian)ของจีนแผ่นดินใหญ่อพยพมาอยู่ไต้หวันมากขึ้น ฟูเจี้ยนอยู่ตรงข้ามกับเกาะไต้หวันนั่นเองและสำเนียงภาษาพูดของชาวฟูเจี้ยน(หรือฮกเกี้ยน)นั้นยังเป็นสำเนียงของชาวไต้หวันมาจนถึงปัจจุบัน

มีชาวจีนอีกกลุ่มหนึ่งที่หลั่งไหลมากับชาวฟูเจี้ยนคือพวกที่รู้จักกันในชื่อ ฮักก้า (Hakka) หมายถึงแขกผู้มาเยือน พวกฮักก้ามาจากมณฑลเหอหนาน(Henna) ซึ่งอยู่ทางเหนือของจีน พวกฮักก้าเดินทางอยู่ที่มณฑลกวานตง(Guandong)และฟูเจี้ยน(Fujian)ทางตอนใต้ของจีนและอพยพหนีตายจากแผ่นดินเกิดของตนมาสู่ไต้หวัน

ปัจจุบันพวกฮักก้าเป็นชนกลุ่มน้อยในไต้หวัน ไม่มีใครรู้ว่าพวกเขาเป็นชนกลุ่มน้อย นอกจากภาษาพูดของพวกเขาเท่านั้นที่บ่งบอกว่าพวกเขาเป็นพวกฮักก้า

ข้อมูล lonely planet
ภาพ วิกิพีเดีย

Facts about Taiwan ประวัติไต้หวัน



ชนพื้นเมืองของไต้หวัน

จากหลักฐานทางโบราณคดีและประวัติศาสตร์พบว่ามีผู้ที่อาศัยอยู่บนเกาะไต้หวันมาแล้วอย่างน้อย 10.000 ปี ผู้ที่อยู่บนเกาะแห่งนี้พวกแรกๆ ไม่ใช่ชาวจีน แม้จะมีหลักฐานทางประวัติศาสตร์ของจีนระบุว่าชาวไต้หวันเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรจีนเมื่อ 3,000 ปีก่อน แต่ก็ไม่มีหลักฐานการอพยพของชาวจีนแผ่นดินใหญ่มาอยู่บนเกาะแห่งนี้จนกระทั่งศตวรรษที่ 15

พวกที่อาศัยอยู่บนเกาะแห่งนี้ยุคแรกๆ เป็นพวกชนพื้นเมือง (Aborigines) ซึ่งเชื่อกันว่าอาจอพยพมาจากหมู่เกาะต่างๆ แถบมหาสมุทรแปซิฟิกซึ่งมีวิถีชีวิตและความเป็นอยู่คล้ายๆ กับผู้ที่อยู่ใกล้ๆ ประเทศฟิลิปปินส์ เมื่อตอนที่ชาวจีนเดินทางมาถึงเกาะไต้หวันนั้น มีชาวพื้นเมืองสองกลุ่ม กลุ่มหนึ่งทำมาหากินอยู่บนเขาและอีกกลุ่มหนึ่งอาศัยอยู่แถบที่ราบลุ่มที่มีดินอุดมแถบภาคกลางและตะวันตกเฉียงใต้ของไต้หวัน

ข้อมูล lonely planet, Taiwan
ภาพจาก New Taiwan