Google

Tuesday, June 17, 2008

การศึกษา


จำนวนประชากรที่อ่านออกเขียนได้ในไต้หวันนั้นสูงกว่าร้อยละ 93 ส่วนผู้ที่อ่านหนังสือไม่ออก เขียนไม่ได้นั้นก็มาจากเหตุผลที่ส่วนใหญ่คนเหล่านี้เป็นผู้สูงอายุที่ขาดโอกาสทางการศึกษาในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง

ชาวไต้หวันเป็นผู้ที่อยากจะได้รับการศึกษาสูงๆ ดังนั้นการจะเข้าศึกษาในระดับมหาวิทยาลัยจึงเป็นเรื่องชี้เป็น ชี้ตายคล้ายๆ กับบ้านเรา การจะสอบเข้ามหาวิทยาลัยจึงมีการแข่งขันกันสูงมาก ก็อย่างว่า การแข่งขันสูงๆ อย่างนั้นจึงเป็นโอกาสของโรงเรียนกวดวิชาเอกชนต่างๆ ที่ผุดกันขึ้นเป็นดอกเห็ดคล้ายๆ บ้านเราอีกเช่นกัน ไม่เว้นแม้กระทั่งเด็กๆ ที่ทางบ้านรายได้ไม่ดีนักก็ยังต้องใช้เวลาในตอนเย็น วันหยุดหรือช่วงโรงเรียนปิดเทอมไปกวดวิชากันอย่างบ้าคลั่ง

การศึกษาในระดับมหาวิทยาลัยในไต้หวันนั้นมุ่งเน้นการเรียนการสอนไปที่สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ว่ากันว่ามีนักศึกษาของไต้หวันประมาณร้อยละ 35 จากจำนวนนักศึกษามหาวิทยาลัยของไต้หวันทั้งสิ้นประมาณ 350,000 คนนั้นเรียนสาขาวิศวกรรม

ชาวต่างชาติที่อยากจะเรียนมหาวิทยาลัยในไต้หวันก็จะต้องพูดและใช้ภาษาจีนได้คล่อง เพราะไม่อย่าสงนั้นแล้วก็ไม่สามารถฟังการบรรยายที่เป็นภาษาจีน(แมนดริน)ได้

ภาพ นักเรียนมัธยมกำลังฝึกฟังภาษาอังกฤษในห้องปฏิบัติการทางภาษา
จาก A Breif Introduction to Taiwan
ข้อมูล lonely planet

Thursday, June 12, 2008

พลเมืองและประชากรของไต้หวัน



ไต้หวันมีพลเมืองประมาณ 22.56 ล้านคน (สถิติเมื่อเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2546) ความหนาแน่นของประชากรของไต้หวันอยู่ที่ 698 คนต่อหนึ่งตารางกิโลเมตรซึ่งจัดได้ว่าเป็นประเทศที่มีประชากรหนาแน่นที่สุดของโลกประเทศหนึ่ง เมืองเกาสงซึ่งอยู่ทางใต้ของไต้หวัน เป็นเมืองที่มีประชากรอาศัยอยู่หนาแน่นที่สุด รองลงมาได้แก่ ไทเปและไท้จง ประชากรกว่าร้อยละ 70 ของประชากรทั้งหมดอาศัยอาศัยอยู่ตามเมืองใหญ่ๆ

เมื่อสามสิบปีกว่าปีก่อนอัตราการเจริญเติบโตของพลเมืองไต้หวันเพิ่มขึ้นมาร้อยละ 1.8 พอถึงปลายปี พ.ศ. 2545 จำนวนพลเมืองไต้หวันที่มีอายุ 65 ปี มีมากกว่าร้อยละ 9 ของจำนวนประชากรทั้งทั้งหมด และนับวันจำนวนผู้สูงอายุในประเทศนี้ยิ่งเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ

ข้อมูลและภาพ จาก A Brief Introduction to Taiwan

Tuesday, June 10, 2008

พรรคการเมืองไต้หวัน (2)


พรรคก้าวหน้าประชาธิปไตย (Democratic Progressive Party)

พรรค DPP อยู่ในฐานะเป็นทั้งพรรคฝ่ายค้านและฝ่ายรัฐบาล (ตำแหน่งประธานาธิบดีเป็นของฝ่ายพรรค DPP ขณะที่ฝ่ายสมาชิกสภาฯเสียงส่วนใหญ่เป็นของพรรค KMT) พรรคนี้ไม่ได้มุ่งเน้นนโยบายกลับไปรวมกับแผ่นดินใหญ่ แต่จะมุ่งเน้นไปที่การปกครองในไทเปเอง ในปี พ.ศ. 2537 เมื่อนายเฉิน สุ่ยเปียนผู้สมัครของพรรค DPP เข้าลงสมัครชิงตำแหน่งนายกเทศมนตรี ต่อมานายเฉินพ่ายแพ้การเลือกตั้งในตำแหน่งนายกเทศมนตรีเมืองไทเปให้แก่พรรค KMT เมื่อ พ.ศ. 2541 อย่างไรก็ตาม ในพ.ศ. 2543 เขาแก้มือได้สำเร็จเมื่อเขาได้รับเลือกเป็นประธานาธิบดีของไต้หวัน

พรรค DPP เป็นพรรคเอียงซ้ายของไต้หวัน บรรดานักการเมืองของพรรคมักจะให้สัญญากับประชาชนว่าจะเน้นในเรื่องสวัสดิการสังคม (โดยเฉพาะเงินเกษียณ) แต่นโยบายดังกล่าวก็ทำไม่ได้ดังที่ให้สัญญาไว้และกลายเป็นว่าการนำเงินเกษียณมาใช้นี้ทำให้ต้องขึ้นเงินภาษีกันขนานใหญ่

พรรค DPP ใช้กลยุทธหาเสียงโดยการปกป้อง พิทักษ์สิ่งแวดล้อม แต่ก็อย่างว่า นโยบายนี้ทำให้บรรดากลุ่มนักธุรกิจไม่พอใจ แต่ทำให้พรรคได้รับการชื่นชมมากมายจากการที่พรรคคัดค้านการลงทุนจากบริษัทเคมียักษ์ใหญ่อย่างไบเออร์ในไต้หวัน ประธานาธิบดีเฉิน สุ่ยเปียนเข้าไปแทรกแซงเพื่อให้ยกเลิกการสร้างเขื่อนเหมียน-อึงที่ว่ากันว่าเขื่อนนี้เป็นแหล่งน้ำสำคัญในการหล่อเลี้ยงนิคมอุตสาหกรรมใหญ่แห่งหนึ่งทางตอนใต้ของไต้หวัน ที่เป็นข่าวใหญ่โตอีกเรื่องหนึ่งได้แก่การที่พรรคDPP คัดค้านการสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์โรงที่สี่ของไต้หวัน จนเป็นเหตุให้พรรค KMT พรรค PPP และพรรค NP ขู่จะล่ารายชื่อเพื่อเข้ากระบวนการยื่นถอดถอนประธานาธิบดีในข้อหายยกเลิกโครงการโรงไฟฟ้าพลังนิวเคลียร์ดังกล่าว

พรรค DPP ได้ให้สัญญากับประชาชนไว้มากมายหลายเรื่อง ไม่ว่าจะเรื่องสิทธิมนุษยชน สิ่งแวดล้อม สวัสดิการสังคม ไม่มีภาษีใหม่ ลดชั่วโมงทำงานให้น้อยลง ทำให้เศรษฐกิจดีขึ้นหรือแม้แต่การประกาศอิสระของไต้หวัน อย่างไรก็ตาม ลงท้ายก็จบลงด้วยการโกงกินของนักการเมืองในรัฐบาลพรคนี้

นอกจากนั้น ยังมีพรรคการเมืองเล็กๆ อีกสี่พรรค ได้แก่
พรรค New Party
พรรค People's First Party
พรรคTaiwan Independant Party
และพรค Green Party


ข้อมูล lonely palnet
ภาพจาก Asia News.it

Thursday, June 5, 2008

พรรคการเมืองของไต้หวัน


พรรคก๊กมินตั๋ง (Kuomintang)

พรรค KMT ปกครองประเทศไต้หวันนับตั้งแต่ก่อตั้งพรรคอย่างเป็นทางการ เมื่อพ.ศ.2454 และพรรคนี้ยังคงควบคุมสภาของไต้หวันอยู่ อย่างไรก็ตามจนถึงขณะนี้พรรคเสียรางวัดไปมากเพราะพ่ายแพ้การเลือกตั้งประธานาธิบดีให้กับพรรคคู่แข่ง

พรรคนี้พยายามที่จะกลับไปรวมกับจีนแผ่นดินใหญ่ แต่ผู้ที่อยากจะรวมกับจีนนี้ได้แก่เจ้าหน้าที่ระดับสูงของ KMT ที่บางคนย้ายครอบครัว ย้ายบัญชีเงินฝากหรือบางคนเปลี่ยนสัญชาติไปอยู่อเมริกาหมดแล้ว

จุดอ่อนของพรรคที่ดูจะเป็นเรื่องใหญ่ที่สุดแก่นโยบาย “ทองคำทมิฬ” พรรคนี้มีเครือข่ายติดต่อกับแก้งค์อาชญากรรมและถูกกล่าวหาว่าโกงกินบ้านเมือง คอรัปชั่นมากมายและซื้อเสียง (ทำไมช่างบังเอิญมาคล้ายกับพรรคการเมืองพรรคหนึ่งในบ้านเราเลย) พรรคนี้พยายามล้างภาพที่ไม่สู้ดีของตนเองโดยการปฏิรูปองค์กรการต่อต้านการโกงกินบ้านกินเมืองและรณรงค์ต่อต้านอาชญากรรม อย่างไรก็ตาม หลายฝ่ายเห็นว่าการกระทำอย่างนั้นมันสายเกินไปแล้ว

ภาพ Lien Chan, Chairman of Chinese Kuomintang (KMT) 2005
ข้อมูล lonely planet

Tuesday, June 3, 2008

ปฏิรูปการเมือง (Political Reform)



ในปีพ.ศ. 2529 เกิดการสั่นสะเทือนทางการเมืองครั้งใหญ่ในไต้หวันพร้อมกับการกำเนิดพรรคการเมืองที่ชื่อ พรรคก้าวหน้าประชาธิปไตย (Democratic Progressive Party หรือ DPP) แม้รัฐบาลจะมีคำสั่งห้ามมิให้มีการจัดตั้งพรรคการเมืองใหม่ขึ้น หลังการอภิปราย หารือและเจรจากันในพรรคหลายครั้ง ในที่สุด KMTก็ตัดสินใจไม่เข้าไปแทรกแซงพรรค DPP ผู้แทนของพรรคนี้ได้รับเลือกตั้งเข้ามาเป็นจำนวนมากในปีพ.ศ. 2529 และได้เข้าไปนั่งในสภา และนี่เองที่ถือเป็นการกำเนิดพรรคฝ่ายค้านจริงๆ เป็นครั้งแรกของไต้หวัน

ถึงพ.ศ. 2530 กฎอัยการศึกที่ใช้มานานถึง 38 ก็สิ้นสุดลง และเป็นกฎหมายฉบับสุดท้ายของประธานาธิบดีเจียง ชิงเกาก่อนที่เขาจะเสียชีวิต ประธานาธิบดีคนต่อมาได้แก่ นาย ลี เต็ง ฮุยซึ่งเป็นชาวไต้หวันโดยกำเนิดคนแรกที่ได้รับตำแหน่งประธานาธิบดี

กฎหมายที่สำคัญฉบับแรกของประธานาธิบดีลีได้แก่ การแก้ปัญหา “ผู้แทนอาวุโส” ของพรรค KMT ซึ่งได้รับเลือกตั้งเข้ามาจากจีนแผ่นดินใหญ่ก่อนที่คอมมูนิวนิสต์จะยึดอำนาจ เมื่อไม่สามารถเลือกตั้งใหม่ได้ พวกผู้แทนเหล่านี้ก็ต้องถูกแช่อยู่ในตำแหน่งมากว่า 40 ปีโดยการอ้างว่าพวกเขาเป็นตัวแทนการปกครองตามรัฐธรรมนูญจากแผ่นดินใหญ่ เมื่อเดือนธันวาคม 2534 ผู้แทนที่ยังมีชีวิตอยู่เหล่านี้ (กว่า 460 คน) ก็ถูกบังคับให้เกษียณและจัดให้มีการเลือกตั้งเสรีเป็นครั้งแรกเพื่อเลือกผู้แทนเข้าสภา การเปลี่ยนแปลงในครั้งนั้นทำให้ประธานาธิบดีลีได้รับความนิยมอย่างสูงและทำให้เขาได้รับฉายาอย่างเป็นทางการว่า “มิสเตอร์ประชาธิปไตย”

เมื่อผู้แทนอาวุโสเกษียณไป การปฏิรูปต่างๆ ก็ตามมาอย่างรวดเร็ว กฎหมายและ ข้อห้ามต่างๆ เกี่ยวกับสื่อมวลชนถูกยกเลิกไปเกือบหมด การอภิปรายในสภา(รวมทั้งการวางมวยในสภา)ถูกถ่ายทอดทางโทรทัศน์เป็นครั้งแรก และทำให้ชาวไต้หวันคุยได้ว่าพวกเขาเป็นประเทศที่มีประชาธิปไตยมากที่สุดประเทศหนึ่งในเอเชียเหมือนกัน

ภาพ การวางมวยของผู้แทนในสภาไต้หวัน จาก Fight in Taiwan's Parliament
ข้อมูล lonely planet

สองจีน



พอมาถึงปี พ.ศ. 2492 พวกคอมมิวนิสต์ก็เข้ายึดอำนาจในจีนแผ่นดินใหญ่จากก๊กมินตั๋ง (KMT) และก่อตั้งสาธารณรัฐประชาชนจีน (Republic of China)ขึ้น ฝ่ายของ KMT ก็ต้องถอยร่นหลบหนีไปไต้ไต้หวันพร้อมกับนำธงและรัฐธรรมนูญของ ROC ติดมาด้วย นับแต่นั้นมาก็ทำให้เกิดตำนานสองจีนขึ้น นั่นคือ ROC(ไต้หวัน) และ PRC (สาธารณรัฐประชาชนจีน)

ชาวจีน 1 ล้าน 5 แสนคน ซึ่งในจำนวนนี้เป็นทหารประมาณ 600,000 คนเดินทางมาไต้หวันหลังพวกคอมมิวนิสต์ยึดอำนาจได้ในจีน พลเมืองบนเกาะไต้หวันแห่งนี้เพิ่มจำนวนขึ้นอย่างรวดเร็วในระยะเวลาไม่ถึงห้าปี โดยเพิ่มจาก 6 ล้านคนในปีพ.ศ. 2489 เป็น7 ล้าน 5 แสนคนในปี พ.ศ. 2493

ขณะที่คนจีนเหล่านี้หลบหนีออกมา พวกทหารของก๊กมินตั๋ง KMT สามารถยึดเกาะเล็กๆ อีกสามเกาะนอกชายฝั่งจีนแผ่นดินใหญ่ได้ เกาะทั้งสามได้แก่ คินเหมิน(Kinmen) เกาะมัตสุ(Matsu)และเกาะวูชิว (Wuchiu) เกาะทั้งสามเกาะนี้ยังเป็นของไต้หวันจนถึงปัจจุบัน

เป็นที่ทราบกันในตอนนั้นว่ากองทัพของฝ่ายคอมมูนิสต์จีนจะต้องรุกรานไต้หวันแน่ๆ แต่ก็ต้องชะงักลงไปเมื่อเกิดสงครามเกาหลี สหรัฐส่งกองเรือที่ 7 เข้าช่องแคบไต้หวันเพื่อขัดขวางแผนการรุกรานของคอมมิวนิสต์ที่อาจะเกิดขึ้น

ก๊กมินตั๋งยังคงยืนยันมาตั้งแต่ต้นว่าการอยู่ไต้หวันนั้นเป็นการอยู่ชั่วคราวและพวกเขาจะกลับไปยึดอำนาจคืนจากพวกคอมมิวนิสต์ในจีนแผ่นดินใหญ่ในเร็ววันนี้ ในขณะเดียวกันก็ไม่ยอมให้มีพรรคฝ่ายค้าน นโยบายดังว่านี้ทำให้ชาวพื้นเมืองของไต้หวันไม่ชอบ นอกจากนั้น KMTก็พิสูจน์ตัวเองว่าสามารถฟื้นฟูเศรษฐกิจที่เสียหายจากสงครามได้ มีการนำโครงการปฏิรูปที่ดินมาใช้เมื่อพ.ศ. 2493 ซึ่งเป็นผลทำให้รายได้ประชาชาติสูงที่สุดในเอเชีย การก้าวกระโดดทางอุตสาหกรรมอย่างรวดเร็วเมื่อพ.ศ. 2503 ทำให้ไต้หวันกลายเป็นประเทศที่มั่งคั่งที่สุดในเอเชีย

ภาพ Shin Kong Tower Observatory
ถ่ายโดย Phillip Epps
ข้อมูลจาก lonely planet