Google

Monday, December 22, 2008

ดนตรี


ดนตรีโบราณ

ปัจจุบัน คนส่วนใหญ่ของไต้หวันชอบคนตรีสมัยใหม่จาก MTV มากกว่าคนตรีจีนเดิม อย่างไรก็ตาม การเล่นเครื่องดนตรีโบราณยังคงมีสอนอยู่ในโรงเรียนและมหาวิทยาลัยต่างๆ เครื่องดนตรีส่วนใหญ่เป็นเครื่องสายและเครื่องเป่าจำพวกขลุ่ยต่างๆ มากมาย
เครื่องดนตรีโบราณที่เราพบเห็นบ่อยๆ ได้แก่ ซอซึ่งมีแบบสองสาย สามสาย สี่สาย ซึ่งเรียกในชื่อต่างกันไป
เครื่องเป่าก็มีทั้งแบบเป่าแนวตั้งและแนวนอนคล้ายๆ ขลุ่ยในบ้านเราเหมือนกันแต่เสียงออกจะโหยหวนอยู่สักหน่อย

ดนตรีร่วมสมัย

ชาวไต้หวันชอบเพลงนุ่มๆ มีเพียงส่วนน้อยเม่านั้นที่ชอบเพลงแรงๆ จนต่อมาเมื่อมีการยกเลิกกฎอัยการศึกเมื่อพ.ศ. 2530 ดนตรีร้องไต้หวันถูกสั่งห้ามออกอากาศ และนี่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงดนตรีของไต้หวันจนทำให้ดนตรีแบแบบนุ่มๆ กลับมาได้รับความนิยมอีกครั้ง
ปัจจุบันเราสามารถฟังดนตรีจากต่างประเทศมากมายในไต้หวันทุกรูปแบบ ทั้งที่มาจากฮ่องกงและที่อื่นๆ

Arts


ไต้หวันยังคงเก็บรักษาศิลปะและวัฒนธรรมแบบจีนโบราณไว้อย่างดี ว่ากันว่าดีกว่าจีนแผ่นดินใหญ่เสียด้วยซ้ำไป

Tuesday, June 17, 2008

การศึกษา


จำนวนประชากรที่อ่านออกเขียนได้ในไต้หวันนั้นสูงกว่าร้อยละ 93 ส่วนผู้ที่อ่านหนังสือไม่ออก เขียนไม่ได้นั้นก็มาจากเหตุผลที่ส่วนใหญ่คนเหล่านี้เป็นผู้สูงอายุที่ขาดโอกาสทางการศึกษาในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง

ชาวไต้หวันเป็นผู้ที่อยากจะได้รับการศึกษาสูงๆ ดังนั้นการจะเข้าศึกษาในระดับมหาวิทยาลัยจึงเป็นเรื่องชี้เป็น ชี้ตายคล้ายๆ กับบ้านเรา การจะสอบเข้ามหาวิทยาลัยจึงมีการแข่งขันกันสูงมาก ก็อย่างว่า การแข่งขันสูงๆ อย่างนั้นจึงเป็นโอกาสของโรงเรียนกวดวิชาเอกชนต่างๆ ที่ผุดกันขึ้นเป็นดอกเห็ดคล้ายๆ บ้านเราอีกเช่นกัน ไม่เว้นแม้กระทั่งเด็กๆ ที่ทางบ้านรายได้ไม่ดีนักก็ยังต้องใช้เวลาในตอนเย็น วันหยุดหรือช่วงโรงเรียนปิดเทอมไปกวดวิชากันอย่างบ้าคลั่ง

การศึกษาในระดับมหาวิทยาลัยในไต้หวันนั้นมุ่งเน้นการเรียนการสอนไปที่สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ว่ากันว่ามีนักศึกษาของไต้หวันประมาณร้อยละ 35 จากจำนวนนักศึกษามหาวิทยาลัยของไต้หวันทั้งสิ้นประมาณ 350,000 คนนั้นเรียนสาขาวิศวกรรม

ชาวต่างชาติที่อยากจะเรียนมหาวิทยาลัยในไต้หวันก็จะต้องพูดและใช้ภาษาจีนได้คล่อง เพราะไม่อย่าสงนั้นแล้วก็ไม่สามารถฟังการบรรยายที่เป็นภาษาจีน(แมนดริน)ได้

ภาพ นักเรียนมัธยมกำลังฝึกฟังภาษาอังกฤษในห้องปฏิบัติการทางภาษา
จาก A Breif Introduction to Taiwan
ข้อมูล lonely planet

Thursday, June 12, 2008

พลเมืองและประชากรของไต้หวัน



ไต้หวันมีพลเมืองประมาณ 22.56 ล้านคน (สถิติเมื่อเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2546) ความหนาแน่นของประชากรของไต้หวันอยู่ที่ 698 คนต่อหนึ่งตารางกิโลเมตรซึ่งจัดได้ว่าเป็นประเทศที่มีประชากรหนาแน่นที่สุดของโลกประเทศหนึ่ง เมืองเกาสงซึ่งอยู่ทางใต้ของไต้หวัน เป็นเมืองที่มีประชากรอาศัยอยู่หนาแน่นที่สุด รองลงมาได้แก่ ไทเปและไท้จง ประชากรกว่าร้อยละ 70 ของประชากรทั้งหมดอาศัยอาศัยอยู่ตามเมืองใหญ่ๆ

เมื่อสามสิบปีกว่าปีก่อนอัตราการเจริญเติบโตของพลเมืองไต้หวันเพิ่มขึ้นมาร้อยละ 1.8 พอถึงปลายปี พ.ศ. 2545 จำนวนพลเมืองไต้หวันที่มีอายุ 65 ปี มีมากกว่าร้อยละ 9 ของจำนวนประชากรทั้งทั้งหมด และนับวันจำนวนผู้สูงอายุในประเทศนี้ยิ่งเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ

ข้อมูลและภาพ จาก A Brief Introduction to Taiwan

Tuesday, June 10, 2008

พรรคการเมืองไต้หวัน (2)


พรรคก้าวหน้าประชาธิปไตย (Democratic Progressive Party)

พรรค DPP อยู่ในฐานะเป็นทั้งพรรคฝ่ายค้านและฝ่ายรัฐบาล (ตำแหน่งประธานาธิบดีเป็นของฝ่ายพรรค DPP ขณะที่ฝ่ายสมาชิกสภาฯเสียงส่วนใหญ่เป็นของพรรค KMT) พรรคนี้ไม่ได้มุ่งเน้นนโยบายกลับไปรวมกับแผ่นดินใหญ่ แต่จะมุ่งเน้นไปที่การปกครองในไทเปเอง ในปี พ.ศ. 2537 เมื่อนายเฉิน สุ่ยเปียนผู้สมัครของพรรค DPP เข้าลงสมัครชิงตำแหน่งนายกเทศมนตรี ต่อมานายเฉินพ่ายแพ้การเลือกตั้งในตำแหน่งนายกเทศมนตรีเมืองไทเปให้แก่พรรค KMT เมื่อ พ.ศ. 2541 อย่างไรก็ตาม ในพ.ศ. 2543 เขาแก้มือได้สำเร็จเมื่อเขาได้รับเลือกเป็นประธานาธิบดีของไต้หวัน

พรรค DPP เป็นพรรคเอียงซ้ายของไต้หวัน บรรดานักการเมืองของพรรคมักจะให้สัญญากับประชาชนว่าจะเน้นในเรื่องสวัสดิการสังคม (โดยเฉพาะเงินเกษียณ) แต่นโยบายดังกล่าวก็ทำไม่ได้ดังที่ให้สัญญาไว้และกลายเป็นว่าการนำเงินเกษียณมาใช้นี้ทำให้ต้องขึ้นเงินภาษีกันขนานใหญ่

พรรค DPP ใช้กลยุทธหาเสียงโดยการปกป้อง พิทักษ์สิ่งแวดล้อม แต่ก็อย่างว่า นโยบายนี้ทำให้บรรดากลุ่มนักธุรกิจไม่พอใจ แต่ทำให้พรรคได้รับการชื่นชมมากมายจากการที่พรรคคัดค้านการลงทุนจากบริษัทเคมียักษ์ใหญ่อย่างไบเออร์ในไต้หวัน ประธานาธิบดีเฉิน สุ่ยเปียนเข้าไปแทรกแซงเพื่อให้ยกเลิกการสร้างเขื่อนเหมียน-อึงที่ว่ากันว่าเขื่อนนี้เป็นแหล่งน้ำสำคัญในการหล่อเลี้ยงนิคมอุตสาหกรรมใหญ่แห่งหนึ่งทางตอนใต้ของไต้หวัน ที่เป็นข่าวใหญ่โตอีกเรื่องหนึ่งได้แก่การที่พรรคDPP คัดค้านการสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์โรงที่สี่ของไต้หวัน จนเป็นเหตุให้พรรค KMT พรรค PPP และพรรค NP ขู่จะล่ารายชื่อเพื่อเข้ากระบวนการยื่นถอดถอนประธานาธิบดีในข้อหายยกเลิกโครงการโรงไฟฟ้าพลังนิวเคลียร์ดังกล่าว

พรรค DPP ได้ให้สัญญากับประชาชนไว้มากมายหลายเรื่อง ไม่ว่าจะเรื่องสิทธิมนุษยชน สิ่งแวดล้อม สวัสดิการสังคม ไม่มีภาษีใหม่ ลดชั่วโมงทำงานให้น้อยลง ทำให้เศรษฐกิจดีขึ้นหรือแม้แต่การประกาศอิสระของไต้หวัน อย่างไรก็ตาม ลงท้ายก็จบลงด้วยการโกงกินของนักการเมืองในรัฐบาลพรคนี้

นอกจากนั้น ยังมีพรรคการเมืองเล็กๆ อีกสี่พรรค ได้แก่
พรรค New Party
พรรค People's First Party
พรรคTaiwan Independant Party
และพรค Green Party


ข้อมูล lonely palnet
ภาพจาก Asia News.it

Thursday, June 5, 2008

พรรคการเมืองของไต้หวัน


พรรคก๊กมินตั๋ง (Kuomintang)

พรรค KMT ปกครองประเทศไต้หวันนับตั้งแต่ก่อตั้งพรรคอย่างเป็นทางการ เมื่อพ.ศ.2454 และพรรคนี้ยังคงควบคุมสภาของไต้หวันอยู่ อย่างไรก็ตามจนถึงขณะนี้พรรคเสียรางวัดไปมากเพราะพ่ายแพ้การเลือกตั้งประธานาธิบดีให้กับพรรคคู่แข่ง

พรรคนี้พยายามที่จะกลับไปรวมกับจีนแผ่นดินใหญ่ แต่ผู้ที่อยากจะรวมกับจีนนี้ได้แก่เจ้าหน้าที่ระดับสูงของ KMT ที่บางคนย้ายครอบครัว ย้ายบัญชีเงินฝากหรือบางคนเปลี่ยนสัญชาติไปอยู่อเมริกาหมดแล้ว

จุดอ่อนของพรรคที่ดูจะเป็นเรื่องใหญ่ที่สุดแก่นโยบาย “ทองคำทมิฬ” พรรคนี้มีเครือข่ายติดต่อกับแก้งค์อาชญากรรมและถูกกล่าวหาว่าโกงกินบ้านเมือง คอรัปชั่นมากมายและซื้อเสียง (ทำไมช่างบังเอิญมาคล้ายกับพรรคการเมืองพรรคหนึ่งในบ้านเราเลย) พรรคนี้พยายามล้างภาพที่ไม่สู้ดีของตนเองโดยการปฏิรูปองค์กรการต่อต้านการโกงกินบ้านกินเมืองและรณรงค์ต่อต้านอาชญากรรม อย่างไรก็ตาม หลายฝ่ายเห็นว่าการกระทำอย่างนั้นมันสายเกินไปแล้ว

ภาพ Lien Chan, Chairman of Chinese Kuomintang (KMT) 2005
ข้อมูล lonely planet

Tuesday, June 3, 2008

ปฏิรูปการเมือง (Political Reform)



ในปีพ.ศ. 2529 เกิดการสั่นสะเทือนทางการเมืองครั้งใหญ่ในไต้หวันพร้อมกับการกำเนิดพรรคการเมืองที่ชื่อ พรรคก้าวหน้าประชาธิปไตย (Democratic Progressive Party หรือ DPP) แม้รัฐบาลจะมีคำสั่งห้ามมิให้มีการจัดตั้งพรรคการเมืองใหม่ขึ้น หลังการอภิปราย หารือและเจรจากันในพรรคหลายครั้ง ในที่สุด KMTก็ตัดสินใจไม่เข้าไปแทรกแซงพรรค DPP ผู้แทนของพรรคนี้ได้รับเลือกตั้งเข้ามาเป็นจำนวนมากในปีพ.ศ. 2529 และได้เข้าไปนั่งในสภา และนี่เองที่ถือเป็นการกำเนิดพรรคฝ่ายค้านจริงๆ เป็นครั้งแรกของไต้หวัน

ถึงพ.ศ. 2530 กฎอัยการศึกที่ใช้มานานถึง 38 ก็สิ้นสุดลง และเป็นกฎหมายฉบับสุดท้ายของประธานาธิบดีเจียง ชิงเกาก่อนที่เขาจะเสียชีวิต ประธานาธิบดีคนต่อมาได้แก่ นาย ลี เต็ง ฮุยซึ่งเป็นชาวไต้หวันโดยกำเนิดคนแรกที่ได้รับตำแหน่งประธานาธิบดี

กฎหมายที่สำคัญฉบับแรกของประธานาธิบดีลีได้แก่ การแก้ปัญหา “ผู้แทนอาวุโส” ของพรรค KMT ซึ่งได้รับเลือกตั้งเข้ามาจากจีนแผ่นดินใหญ่ก่อนที่คอมมูนิวนิสต์จะยึดอำนาจ เมื่อไม่สามารถเลือกตั้งใหม่ได้ พวกผู้แทนเหล่านี้ก็ต้องถูกแช่อยู่ในตำแหน่งมากว่า 40 ปีโดยการอ้างว่าพวกเขาเป็นตัวแทนการปกครองตามรัฐธรรมนูญจากแผ่นดินใหญ่ เมื่อเดือนธันวาคม 2534 ผู้แทนที่ยังมีชีวิตอยู่เหล่านี้ (กว่า 460 คน) ก็ถูกบังคับให้เกษียณและจัดให้มีการเลือกตั้งเสรีเป็นครั้งแรกเพื่อเลือกผู้แทนเข้าสภา การเปลี่ยนแปลงในครั้งนั้นทำให้ประธานาธิบดีลีได้รับความนิยมอย่างสูงและทำให้เขาได้รับฉายาอย่างเป็นทางการว่า “มิสเตอร์ประชาธิปไตย”

เมื่อผู้แทนอาวุโสเกษียณไป การปฏิรูปต่างๆ ก็ตามมาอย่างรวดเร็ว กฎหมายและ ข้อห้ามต่างๆ เกี่ยวกับสื่อมวลชนถูกยกเลิกไปเกือบหมด การอภิปรายในสภา(รวมทั้งการวางมวยในสภา)ถูกถ่ายทอดทางโทรทัศน์เป็นครั้งแรก และทำให้ชาวไต้หวันคุยได้ว่าพวกเขาเป็นประเทศที่มีประชาธิปไตยมากที่สุดประเทศหนึ่งในเอเชียเหมือนกัน

ภาพ การวางมวยของผู้แทนในสภาไต้หวัน จาก Fight in Taiwan's Parliament
ข้อมูล lonely planet

สองจีน



พอมาถึงปี พ.ศ. 2492 พวกคอมมิวนิสต์ก็เข้ายึดอำนาจในจีนแผ่นดินใหญ่จากก๊กมินตั๋ง (KMT) และก่อตั้งสาธารณรัฐประชาชนจีน (Republic of China)ขึ้น ฝ่ายของ KMT ก็ต้องถอยร่นหลบหนีไปไต้ไต้หวันพร้อมกับนำธงและรัฐธรรมนูญของ ROC ติดมาด้วย นับแต่นั้นมาก็ทำให้เกิดตำนานสองจีนขึ้น นั่นคือ ROC(ไต้หวัน) และ PRC (สาธารณรัฐประชาชนจีน)

ชาวจีน 1 ล้าน 5 แสนคน ซึ่งในจำนวนนี้เป็นทหารประมาณ 600,000 คนเดินทางมาไต้หวันหลังพวกคอมมิวนิสต์ยึดอำนาจได้ในจีน พลเมืองบนเกาะไต้หวันแห่งนี้เพิ่มจำนวนขึ้นอย่างรวดเร็วในระยะเวลาไม่ถึงห้าปี โดยเพิ่มจาก 6 ล้านคนในปีพ.ศ. 2489 เป็น7 ล้าน 5 แสนคนในปี พ.ศ. 2493

ขณะที่คนจีนเหล่านี้หลบหนีออกมา พวกทหารของก๊กมินตั๋ง KMT สามารถยึดเกาะเล็กๆ อีกสามเกาะนอกชายฝั่งจีนแผ่นดินใหญ่ได้ เกาะทั้งสามได้แก่ คินเหมิน(Kinmen) เกาะมัตสุ(Matsu)และเกาะวูชิว (Wuchiu) เกาะทั้งสามเกาะนี้ยังเป็นของไต้หวันจนถึงปัจจุบัน

เป็นที่ทราบกันในตอนนั้นว่ากองทัพของฝ่ายคอมมูนิสต์จีนจะต้องรุกรานไต้หวันแน่ๆ แต่ก็ต้องชะงักลงไปเมื่อเกิดสงครามเกาหลี สหรัฐส่งกองเรือที่ 7 เข้าช่องแคบไต้หวันเพื่อขัดขวางแผนการรุกรานของคอมมิวนิสต์ที่อาจะเกิดขึ้น

ก๊กมินตั๋งยังคงยืนยันมาตั้งแต่ต้นว่าการอยู่ไต้หวันนั้นเป็นการอยู่ชั่วคราวและพวกเขาจะกลับไปยึดอำนาจคืนจากพวกคอมมิวนิสต์ในจีนแผ่นดินใหญ่ในเร็ววันนี้ ในขณะเดียวกันก็ไม่ยอมให้มีพรรคฝ่ายค้าน นโยบายดังว่านี้ทำให้ชาวพื้นเมืองของไต้หวันไม่ชอบ นอกจากนั้น KMTก็พิสูจน์ตัวเองว่าสามารถฟื้นฟูเศรษฐกิจที่เสียหายจากสงครามได้ มีการนำโครงการปฏิรูปที่ดินมาใช้เมื่อพ.ศ. 2493 ซึ่งเป็นผลทำให้รายได้ประชาชาติสูงที่สุดในเอเชีย การก้าวกระโดดทางอุตสาหกรรมอย่างรวดเร็วเมื่อพ.ศ. 2503 ทำให้ไต้หวันกลายเป็นประเทศที่มั่งคั่งที่สุดในเอเชีย

ภาพ Shin Kong Tower Observatory
ถ่ายโดย Phillip Epps
ข้อมูลจาก lonely planet

Friday, May 30, 2008

สาธารณรัฐจีน


ในช่วงครึ่งแรกของศตวรรษที่ 21 เหตุการณ์ต่างๆในจีนแผ่นดินใหญ่ส่งผลต่ออนาคตของไต้หวันอย่างใหญ่หลวง ราชวงศ์ชิงซึ่งเป็นราชวงศ์สุดท้ายของจีนล่มสลายลงในปีพ.ศ. 2454 หลังเกิดการกบถครั้งใหญ่ขึ้น ผู้นำการเปลี่ยนแปลงครั้งนั้นได้แก่ ดร. ซุน ยัตเซ็นซึ่งต่อมาได้เป็นประธานาธิบดีคนแรกของสาธารณรัฐจีน (Republic of China)

ซุน ยัตเซ็นไม่ได้เมาอำนาจ เขาก้าวลงจากตำแหน่งเพื่อให้ หยวน ซีไข (Yuan Shikai) ขึ้นดำรงตำแหน่งแทน แต่หยวน ซีไขไม่ได้ก็ดำเนินรอยตามวิสัยทัศน์ของซุน ยัตเซ็นเพื่อพัฒนาจีนให้เป็นประชาธิปไตย เขากลับพยายามตั้งตนเป็นจักพรรดิคนใหม่แทน แต่ท้ายที่สุดเขาก็ทำไม่สำเร็จและจบชีวิตลงด้วยโรคมะเร็งเมื่อพ.ศ. 2459

ในช่วงสงครามกลางเมืองก่อให้เกิดความวุ่นวายมากมาย ประเทศได้แตกแยกเป็นหลายฝักหลายฝ่ายเพื่อแย่งชิงอำนาจกัน ในที่สุดความสงบก็ค่อยๆ กลับคืนสู่ภาวะปกติ เมื่อก๊กมินตั๋ง (KMT)หรือพรรคแห่งชาติ(National Party) เรืองอำนาจ กองทัพของพรรคแห่งชาติซึ่งนำโดยเจียง ไคเช็ค อย่างไรก็ตาม KMT ก็พบปัญหารุมเร้ามากมายทั้งจากภายในเองและจากภายนอก ไม่ว่าจะเป็นกองกำลังทหารของญี่ปุ่นและจากฝ่ายกบถคอมมิวนิสต์ในประเทศ ในปีพ.ศ.2474 กองกำลังทหารของญี่ปุ่นเข้ายึดครองแมนจูเรีย พ.ศ. 2480 ทหารญี่ปุ่นก็บุกเข้าเมืองหลวงของจีน

หลังญี่ปุ่นพ่ายแพ้สงครามโลกครั้งที่ 2 ภายใต้สนธิสัญญายัลต้า (Yalta Agreement) จีนได้อธิปไตยไต้หวันกลับคืนมา ชาวไต้หวันต่างยินดีที่สงครามสงบลง แต่ความปรีดาของชาวไต้หวันก็อยู่ได้ไม่นานเมื่อ เจียงไคเช็คส่งนายพลเชน ยี่จอมขี้ฉ้อและทำงานไม่เป็นมาเป็นผู้ว่าราชการไต้หวัน การปกครองของรัฐบาลฉ้อราษฎร์ของเชน ยี่มาถึงขีดสุดเมื่อเกิดการจลาจลต่อต้านก๊กมินตั๋งครั้งใหญ่ เมื่อพ.ศ. 2490 การปราบจลาจลในครั้งทำให้พลเรือนชาวไต้หวันถูกสังหารไปถึง 10,000 ถึง 30,000 คน เหตุการณ์ครั้งนั้นซึ่งเป็นที่รู้จักกันในชื่อ ‘2-28’ (ซึ่งเป็นวันที่เกิดเหตุการณ์วิปโยคขึ้น) ยังเป็นที่จดจำของชาวไต้หวันมาจนถึงทุกวันนี้

รัฐบาลสั่งห้ามทุกคนเอ่ยถึงเรื่องนี้ในไต้หวันจนกระทั่งมีการยกเลิกกฏอัยการศึกเมื่อ พ.ศ. 2530 นี่เอง


ภาพ Dr. Sun Yatsen จาก Google Image

ข้อมูล lonely planet/ Taiwan

Saturday, May 10, 2008

ญี่ปุ่นล่าเมืองขึ้น



ปี พ.ศ. 2437 เกิดข้อพิพาทกรณีเกาหลีจนนำไปสู่สงครามระหว่างจีน-ญี่ปุ่น ตอนนั้นไต้หวันซึ่งอยู่ไกลจากจีนพยายามหลีกเลี่ยงสงครามในจีน แต่พอจีนแผ่นดินใหญ่พ่ายแพ้สงครามเมื่อพ.ศ. 2438 ไต้หวันกลับกลายเป็นประเทศหนึ่งที่ได้รับผลกระทบจากสงครามและตกอยู่ภายใต้การยึดครองของญี่ปุ่น แม้ญี่ปุ่นปกครองไต้หวันด้วยกฎหมายและคำสั่งของญี่ปุ่น แต่ก็เป็นคำสั่งที่เข้มงวด ชาวไต้หวันหลายกลุ่มไม่ยอมปฏิบัติตามกฎและแข็งข้อต่อคำสั่งและกฎหมายของญี่ปุ่นพร้อมทั้งประกาศตนเป็นสาธารณรัฐฟอร์โมซา สาธารณรัฐอิสระแห่งแรกของเอเชียในปีนั้น และก็ถูกญี่ปุ่นปราบปรามอย่างโหดเหี้ยม ไต้หวันถูกญี่ปุ่นยึดครองอยู่นานถึง 50 ปี อิทธิพลของญี่ปุ่นยังคงอยู่ในวัฒนธรรมของชาวไต้หวันจนถึงทุกวันนี้ ดังจะเห็นได้จากคนที่สูงอายุของไต้หวันหลายคนยังพูดภาษาญี่ปุ่นอยู่

แม้ญี่ปุ่นจะกดขี่ชาวไต้หวัน แต่ก็ไม่มีการต่อต้าน อย่างไรก็ตามในช่วงการยึดครอง ญี่ปุ่นนำความเจริญมาสู่ไต้หวันด้วยเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นด้านการศึกษาหรือเศรษฐกิจ ทำให้ไต้หวันเจริญกว่าจีนแผ่นดินใหญ่ในช่วงการยึดครอง

ไม่ใช่แค่นั้น รัฐบาลอาณานิคมของญี่ปุ่นจำต้องส่งคนและวัตถุดิบไปป้อนประเทศแม่ซึ่งที่นั่น สงครามเครื่องจักรกลกำลังเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว เมื่อสงครามโลกครั้งที่สองประทุขึ้น ญึ่งปุ่นเกณฑ์ชาวไต้หวันหลายหมื่นคนไปช่วยรบซึ่งในจำนวนนี้มีเป็นจำนวนมากล้มตายและได้รับบาดเจ็บจากสงคราม กองทัพพันธมิตรตะวันตกทิ้งระเบิดฐานทัพและเขตซ่องสุมกำลังของทหารญี่ปุ่นในไต้หวันจนย่อยยับ เมื่อสงครามสิ้นสุดลง เศรษฐกิจของไต้หวัน จีนแผ่นดินใหญ่และญี่ปุ่นเองถูกทำลายย่อยยับเช่นกัน

ภาพทหารญี่ปุ่นเข้าไทเป ซีตี้เมื่อพ.ศ. 2438

ภาพจาก Wikipedia

ข้อมูล lonely planet

พวกยุโรปยึดครองไต้หวัน



เมื่อราว พ.ศ. 2060 ชาวโปรตุเกสเป็นชาวยุโรปพวกแรกที่เดินทางโดยทางเรือมาขึ้นฝั่งที่เกาะไต้หวันและติดใจในความงดงามของเกาะแห่งนี้และตั้งชื่อเกาะว่า Ilha Formosa ซึ่งหมายถึง เกาะสวย บางครั้งเรายังคงได้ยินคนเอ่ยถึงชื่อนี้บ้าง ปัจจุบันโดยทั่วไปเกาะแห่งนี้เป็นที่รู้จักกันในชื่อจีน คือไต้หวันซึ่งแปลตรงตัวว่า “อ่าวเป็นชั้นๆ “

การพยายามครอบครองไต้หวันเพื่อเป็นอาณานิคมของพวกยุโรปนั้นไม่ได้สะดวกราบรื่นเท่าใดนัก พวกดัทช์เข้ามารุกรานไต้หวันเมื่อ พ.ศ. 2167 พวกนี้ตั้งเมืองหลวงขึ้นครั้งแรกในไต้หวันที่ ไท้หนาน(Tainan) ซึ่งอยู่ทางตะวันตกเฉียงใต้ของไต้หวันตอนนี้ สองปีต่อมา พวกสเปญก็บุกเข้ามายึดพื้นที่ทางตอนเหนือของไต้หวัน แต่ก็ถูกพวกดัทช์ขับไล่ออกไปเมื่อ พ.ศ. 2184

ไต้หวันเองไม่มีกองกำลังจะต่อต้านการยึดครองของพวกดัทช์ได้ แต่ต่อมาเหตุการณ์ต่างๆ ในจีนผืนแผ่นดินใหญ่ก็เปลี่ยนแปลงสิ่งต่างๆ มากมาย เกิดการนองเลือดในจีนเมื่อกองทัพของราชวงศ์ชิง (Qing Dynasty) หรือพวกแมนจูกวาดล้างพวกที่ให้การสนับสนุนราชวงศ์หมิง (Ming dynasty) เช็ง เช็งกง (Cheng Chengkung) ซึ่งอยู่ฝ่ายราชวงศ์หมิง หนีข้ามมาเกาะไต้หวัน เขาหนีมาพร้อมกับทหาร 35,000 คน เมื่อ พ.ศ. 2204 และจากนั้นก็ขับไล่พวกดัทช์ที่ตั้งฐานที่มั่นอยู่ในไท้หนานออกไปจนหมด

ข้อมูล lonely planet
ภาพ New Taiwan

ชาวจีนอพยพเข้ามาไต้หวัน



ตั้งแต่ช่วงศตวรรษที่ 15 ชาวจีนจากมณฑลฟูเจี้ยน(Fujian)ของจีนแผ่นดินใหญ่อพยพมาอยู่ไต้หวันมากขึ้น ฟูเจี้ยนอยู่ตรงข้ามกับเกาะไต้หวันนั่นเองและสำเนียงภาษาพูดของชาวฟูเจี้ยน(หรือฮกเกี้ยน)นั้นยังเป็นสำเนียงของชาวไต้หวันมาจนถึงปัจจุบัน

มีชาวจีนอีกกลุ่มหนึ่งที่หลั่งไหลมากับชาวฟูเจี้ยนคือพวกที่รู้จักกันในชื่อ ฮักก้า (Hakka) หมายถึงแขกผู้มาเยือน พวกฮักก้ามาจากมณฑลเหอหนาน(Henna) ซึ่งอยู่ทางเหนือของจีน พวกฮักก้าเดินทางอยู่ที่มณฑลกวานตง(Guandong)และฟูเจี้ยน(Fujian)ทางตอนใต้ของจีนและอพยพหนีตายจากแผ่นดินเกิดของตนมาสู่ไต้หวัน

ปัจจุบันพวกฮักก้าเป็นชนกลุ่มน้อยในไต้หวัน ไม่มีใครรู้ว่าพวกเขาเป็นชนกลุ่มน้อย นอกจากภาษาพูดของพวกเขาเท่านั้นที่บ่งบอกว่าพวกเขาเป็นพวกฮักก้า

ข้อมูล lonely planet
ภาพ วิกิพีเดีย

Facts about Taiwan ประวัติไต้หวัน



ชนพื้นเมืองของไต้หวัน

จากหลักฐานทางโบราณคดีและประวัติศาสตร์พบว่ามีผู้ที่อาศัยอยู่บนเกาะไต้หวันมาแล้วอย่างน้อย 10.000 ปี ผู้ที่อยู่บนเกาะแห่งนี้พวกแรกๆ ไม่ใช่ชาวจีน แม้จะมีหลักฐานทางประวัติศาสตร์ของจีนระบุว่าชาวไต้หวันเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรจีนเมื่อ 3,000 ปีก่อน แต่ก็ไม่มีหลักฐานการอพยพของชาวจีนแผ่นดินใหญ่มาอยู่บนเกาะแห่งนี้จนกระทั่งศตวรรษที่ 15

พวกที่อาศัยอยู่บนเกาะแห่งนี้ยุคแรกๆ เป็นพวกชนพื้นเมือง (Aborigines) ซึ่งเชื่อกันว่าอาจอพยพมาจากหมู่เกาะต่างๆ แถบมหาสมุทรแปซิฟิกซึ่งมีวิถีชีวิตและความเป็นอยู่คล้ายๆ กับผู้ที่อยู่ใกล้ๆ ประเทศฟิลิปปินส์ เมื่อตอนที่ชาวจีนเดินทางมาถึงเกาะไต้หวันนั้น มีชาวพื้นเมืองสองกลุ่ม กลุ่มหนึ่งทำมาหากินอยู่บนเขาและอีกกลุ่มหนึ่งอาศัยอยู่แถบที่ราบลุ่มที่มีดินอุดมแถบภาคกลางและตะวันตกเฉียงใต้ของไต้หวัน

ข้อมูล lonely planet, Taiwan
ภาพจาก New Taiwan

Friday, April 25, 2008

Copper covers stolen from Taipei hydrants


ไม่ใช่เฉพาะบ้านเราเท่านั้นที่มีการลักขโมยฝาท่อที่เป็นโลหะไปขาย ในไต้หวันนั้นก็เริ่มหนักข้อขึ้น ด้วยเหตุที่ว่าหัวขโมยลักฝาครอบทองแดงหัวจ่ายน้ำดับเพลิงในไทเปกันเป็นว่าเล่น ว่ากันว่าเหตุที่พวกหัวขโมยลักโลหะพวกนี้ไปก็เพราะทองแดงนั้นราคาพุ่งสูงขึ้นประกอบกับเศรษฐกิจของไต้หวันเริ่มฝืดเคืองเข้าทุกที

ตามรายงานบอกว่าหัวจ่ายน้ำดับเพลิงสีแดงๆ ที่ติดตั้งอยู่ตามท้องถนนใน Taipei City 3,064 หัวนั้นมีฝาครอบทองแดงอยู่ถึง 7,200 อันและตอนนี้ถูกมือดีขโมยไปแล้ว 2,200 อัน

นาย Hou Guang-chun สมาชิกสภาเมือง Taipei City กล่าวว่ามูลค่าของฝาครอบทองแดงที่หัวจ่ายน้ำดับเพลิงที่ถูกขโมยไปนี้มีมูลค่าถึง 5 ล้านดอลลาร์ไต้หวันพร้อมทั้งเรียกร้องให้ให้ผู้คนหันมาสนเรื่องเรื่องนี้อย่างจริงจังเสียทีเพราะสินทรัพย์เหล่านี้ซื้อมาด้วยเงินภาษีของชาวบ้านชาวเมืองชาวไทเปทั้งสิ้น

ภาพและข่าวจาก The China Post news staff

Tuesday, April 22, 2008

ไต้หวันเตรียมเลิกโครงการเชื้อเพลิงชีวภาพ


มีข่าวจากหนังสือพิมพ์ของไต้หวันฉบับหนึ่งรายงานว่ารัฐบาลใหม่ของประธานาธิบดี Ma Ying-Jeou ที่จะเข้ารับตำแหน่งเร็วๆ นี้จะยกเลิกนโยบายปัจจุบันที่ส่งเสริมให้ชาวไร่ชาวนาปลูกพืชเพื่อผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพเพื่อช่วยแก้ปัญหาน้ำมันเชื้อเพลิงราคาแพงและลดปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ในอากาศ

ในข่าวบอกว่าเหตุที่ต้องยกเลิกนโยบายดังกล่าวก็เพราะเห็นว่าการผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพจากการเกษตรในไต้หวันนั้นไม่คุ้มเพราะไต้หวันมีพื้นที่จำกัด ควรปลูกพืชที่ใช้บริโภคเพื่อลดปริมาณการนำเข้าอาหารจากต่างประเทศและทำให้ผู้บริโภคซื้ออาหารในราคาถูกว่าการนำเข้า

ส่วนในบ้านเรานั้นนโยบายทางเกษตรยังไม่ไปถึงไหนเพราะมัวแต่ห่วงเรื่องการแก้รัฐธรรมนูญมากกว่าการแก้ปัญหาปากท้องชาวบ้านตาดำๆ

จาก The China Post ฉบับวันที่ Wednesday, April 23, 2008

ภาพจาก Taipei City Governemnt

Friday, April 18, 2008

เพิ่มอายุเกษียณชาวไต้หวัน Retirement age to be raised to 65


ตอนนี้ผู้สูงอายุที่ยังมีเรี่ยวแรงทำงานได้ในไต้หวัน ได้เฮกันอีกคร้งเมื่อมีการแก้กฎหมายให้เพิ่มอายุเกษียณจากเดิม อายุ 60 ปี เป็น 65 ปีแล้ว ว่ากันว่าคนไต้หวันนั้น อายุ 60 ปีก็ยังสามารถไปไหนมาไหนได้ บางคนกลับมาอยู่บ้านเฉยๆ ก็ไม่รู้จะทำอะไร ข่าวนี้(ผู้สูงอายุ)ชาวได้หวันได้ปลื้มกันทั่วหน้า แต่บ้านเรายังคงยากเพราะดูคุณภาพนักการเมืองบ้านเราแล้ว บอกได้ว่ายังอีกไกล รอไปก่อนนะครับ

(ข่าวจากหนังสือพิมพ์ The China Post ฉบับวันที่ Saturday, April 19, 2008)
ภาพจาก Taiwan Review

Thursday, March 27, 2008

Busker


นักแสดงข้างถนนหรือ Street performer หรือ Busker ในไต้หวันก็คล้ายๆ กับประเทศอื่นๆ ที่ศิลปินข้างถนนกลุ่มหนึ่งยังปักหลักหากินโดยใช้ข้างถนนเป็นเวที นับว่าเป็นสีสันของสถานที่ท่องเที่ยว บางประเทศก็ออกกฎห้ามแสดงบนถนนคนเดิน แต่บางประเทศก็ใช้วืธีตีทะเบียนซะเลย อย่างเช่นที่ นครเมลเบิร์นของออสเตรเลีย เขาออกใบอนุญาตให้นักแสดงข้างถนน ใครไม่มีใบอนุญาตเล่นไม่ได้ ทำให้ทราบจำนวนและเวลาในการแสดง ก็นับว่ามีวิสัยทัศน์ที่ดี ในบ้านเราน่ะหรือ อย่าให้พูด จะหาผู้นำประเทศมีชอบศิลปะหรือการแสดงนั้นยากยิ่งกว่างมเข็มในมหาสมุทร ในภาพเป็นการแสดงของนักดนตรีคนหนึ่ง กำลังเล่นอยู่หน้าสถานีรถไฟฟ้าตั้มสุ่ย เล่นกีตาร์ได้ไพเราะมาก มีทักษะด้านดนตรีเยี่ยม เราเลยแวะซื้อซีดีบรรเลงกีตาร์คลาสิกของพี่แกมาแผ่นหนึ่ง

Thursday, January 3, 2008

Chiang Kaishek Memorial (3)


ประตูแบบจีนโบราณด้านหน้า Chiang Kaishek Memorial ขนาดมหึมาดูน่าเกรงขาม

Chiang Kaishek Memorial (2)


ภายในอาณาบริเวณ Chiang Kaishek Memorial มีโรงละครแห่งชาติ (National Theatre) และโรงอุปรากร (National Concert Hall) ตั้งอยู่ ตอนเช้าๆ จะมีผู้คนไปวิ่งออกกำลังและเล่นไทเก้กกันหนาตา

Chiang Kaishek Memorial ตั้งอยู่ถนน Hsinyi Rd, Section 1 อาคารพิพิธภัณฑ์เปิดทำการทุกวันตั้งแต่เวลา 9 โมงเช้าไปจนถึง 5 โมงเย็น นั่งรถไฟฟ้าใต้ดินไปขึ้นที่สถานี Chiang Kaishek Memorial Station ได้เลย

Chiang Kaishek Memorial



เป็นหมู่อาคารขนาดมหึมารายล้อมด้วยกำแพงจีนโบราณ ด้านหน้ามีประตูจีนขนาดยักษ์ ภายในกำแพง มีประกอบด้วยอาคาร Chiang Kaishek Memorial Hall ซึ่งเป็นสถาปัตยกรรมแบบจีนสวยงามมาก ภายในอาคารมีรูปปั้นของ Chiang Kaishek ขนาดใหญ่ตั้งอยู่

ส่วนชั้นล่างจะเป็นพิพิธภัณฑ์ชีวประวัติของ Chiang Kaishek

พิพิธภัณฑ์ไปรษณีย์ (Postal Museum)




ภายในจัดแสดงการพัฒนาการของการไปรษณีย์ไต้หวัน นักท่องเที่ยวต่างชาติเดินไม่มากนัก อย่างไรก็ตามสถานที่ว่านี้เหมาะสำหรับนักสะสมแสตมป์ สังเกตได้ว่าในวันหยุดจะมีการประมูลกันภายนอก ด้านหน้าพิพิธภัณฑ์ ประดานักสะสมมืออาชีพและคนขายของสะสมจะนำของแปลกๆ มาประมูล จำหน่ายหรือแลกกัน

พิพิธภัณฑ์ไปรษณีย์ ตั้งอยู่เลขที่ 45 ถนน Chungching S Rd. Section 2 เปิดทำการตั้งแต่วันอังคารถึงวันอาทิตย์ ยกเว้นหลังวันหยุดที่ทางการประกาศ